ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การบริบาลทางเภสัชกรรม, ความร่วมมือในการใช้ยา, ยาต้านไวรัส, เอชไอวี, เอดส์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม ด้วยการวัดคะแนนความร่วมมือในการใช้ยาต้านไวรัส ค่า CD4 cell count ค่า viral load และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยา ก่อนและหลังได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม
รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565-30 กันยายน 2566 ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่รับบริการที่โรงพยาบาลยางสีสุราช รวบรวมข้อมูลจากแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยและแบบบันทึกการบริบาลทางเภสัชกรรม จำนวน 90 ราย วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป คะแนนความร่วมมือในการใช้ยา อาการไม่พึงประสงค์จากยา ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา ค่า CD4 cell count และค่า viral load โดยค่าความถี่และร้อยละ เปรียบเทียบคะแนนความร่วมมือในการใช้ยา CD4 cell count และ viral load ก่อนและหลังการให้บริบาลทางเภสัชกรรมโดยใช้สถิติ Paired t-test
ผลการศึกษา : หลังได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมพบว่าคะแนนความร่วมมือเพิ่มขึ้นจาก 90.23±0.66 เป็น 97.29±0.24 (p-value<0.05) พบเกิดอาการไม่พึงประสงค์มากสุดคือ MP rash 6 ครั้ง (ร้อยละ 6.67) ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาที่พบมากที่สุดคือความไม่ร่วมมือในการใช้ยาจำนวน 16 ครั้ง (ร้อยละ 45.71) พบปัญหาการใช้ยาทั้งหมดจำนวน 16 ปัญหา ได้รับการแก้ไขจำนวน 14 ปัญหา (ร้อยละ 87.50) ค่า CD4 cell count เพิ่มขึ้น (p-value<0.05) และค่า viral load ลดลง (p-value<0.05)
สรุปผลการศึกษา : การให้การบริบาลทางเภสัชกรรมมีส่วนทำให้ผู้ป่วยมีความร่วมมือในการรับประทานยาต้านไวรัสดีขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาได้ และทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์มีผลการรักษาที่ดีขึ้น
References
คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์. แผนปฏิบัติการยุติปัญหาเอดส์ ประเทศไทย พ.ศ. 2566-2569. นนทบุรี: บริษัท เอ็นซี คอนเซ็ปต์ จำกัด; 2566.
กรมควบคุมโรค. รายละเอียดโรค: เอดส์ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2562 [เข้าถึงเมื่อ วันที่15 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=423.
สุเมธ องค์วรรณดี, ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล, อัญชลี อวิหิงสานนท์, เอกจิตรา สุขกุล, รังสิมา โล่ เลขา. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทยปี 2560 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวง สาธารณสุข; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaiaidssociety.org/wp-content/uploads/2022/02/Thailand-National-Guidelines-on-HIV-AIDS-Treatment-and-Prevention-2017.pdf.
ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์. การรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ด้วยยาต้านไวรัส. An update on infectious diseases. กรุงเทพมหานคร: สวิชาญการพิมพ์; 2548. หน้า 545-7.
Press N, Tyndall MW, Wood E, Hogg RS, Montaner JS. Virologic and immunologic response, clinical progression, and highly active antiretroviral therapy adherence. J Acquir Immune Defic Syndr. 2002;31(Suppl 3):S112-7. doi: 10.1097/00126334- 200212153-00005.
เฉลิมศรี ภุมมางกูร. ปรัชญาของการบริบาลทางเภสัชกรรมปฏิบัติ. ใน: เฉลิมศรี กุมมางกูร, กฤตติกา ตัญญะแสนสุข, บรรณาธิการ. โอสถกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: นิวไทยมิตรภาพการพิมพ์; 2547. หน้า 1-5.
ชฎาพร วิสัย, รินดาวรรณ พันธุ์เขียน, ภิรุญ มุตสิกพันธ์, เชิดชัย สุนทรภาส. การบริบาลทางเภสัช กรรมผู้ป่วยนอกที่ติดเชื้อเอชไอวี ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2549;2(2):66-75.
กมลรัตน์ ณ หนองคาย. การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกที่ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย. วารสารเภสัชกรรมคลินิก. 2023;3(29):153-64.
สุชาดา เตื้องวิวัฒน์. การศึกษาและติดตามการใช้ยาของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลมาบอำมฤต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2558;19(1):161-169.
พงษ์พันธ์ บุญชู, สามารถ เอื้อมเก็บ, อภิสิทธิ์ เทียนชัยโรจน์. การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยนอกโรคเอดส์.วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล. 2548;15(2):117-23.
Miller LG, Hays RD. Measuring adherence to antiretroviral medications in clinical trials. HIV Clin Trials. 2000;1(1):36-46. doi: 10.1310/enxw-95pb-5ngw-1f40.
ธนิดา นันทะแสน, รัชฎาพร สุนทรภาส, ภิรุญ มุตสิกพันธุ์ และเชิดชัย สุนทรภาส. การวิเคราะห์สาเหตุต้นตอปัญหาจากการใช้ยาในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี: กรณีศึกษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีครินทร์เวชสาร. 2558;30(3):221-228.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2564/2565. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีีไซน์; 2565.
Hernández Arroyo MJ, Cabrera Figueroa SE, Valverde Merino MP, Hurlé AD. A pharmacist's role in the individualization of treatment of HIV patients. Per Med. 2016;13(2):169-88. doi: 10.2217/pme.15.54.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม