การพัฒนารูปแบบการบำบัดผู้ติดยาเสพติดที่มีภาวะซึมเศร้าตามแนวคิดซาเทียร์ในคลินิกสุขภาพจิตและยาเสพติด โรงพยาบาลมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ผู้ติดยาเสพติด, ภาวะซึมเศร้า, แนวคิดซาเทียร์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์การบำบัดผู้ติดยาเสพติดที่มีภาวะซึมเศร้า 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการบำบัดผู้ติดยาเสพติดที่มีภาวะซึมเศร้า และ 3. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการบำบัดผู้ติดยาเสพติดที่มีภาวะซึมเศร้าในคลินิกสุขภาพจิตและยาเสพติด โรงพยาบาลมหาสารคาม
รูปแบบและวิธีวิจัย : วิจัยเชิงปฏิบัติการ ระยะเวลา 1 มกราคม 2566–30 เมษายน 2567 กลุ่มเป้าหมายและผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ ผู้ติดยาเสพติดที่บำบัดแบบผู้ป่วยนอกและมีภาวะซึมเศร้า ญาติหรือผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย จิตแพทย์ นักจิตวิทยา พยาบาลเฉพาะทางจิตเวชและยาเสพติด รวม 62 คน เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ผลการศึกษา : 1. ในปี 2563-2565 พบผู้ติดยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดในระบบโดยสมัครใจแบบผู้ป่วยนอกมีอาการซึมเศร้าระดับรุนแรงเพิ่มขึ้น และในปี 2566 ผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัด 240 คน พบมีภาวะซึมเศร้ารุนแรง 24 คน (ร้อยละ 10) 2. การพัฒนารูปแบบการบำบัดผู้ติดยาเสพติดที่มีภาวะซึมเศร้า ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานระดับอำเภอ วิเคราะห์สถานการณ์ แบ่งบทบาทหน้าที่ของสหวิชาชีพคืนข้อมูลผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อหาปัญหาและแนวทางการดำเนินงานแต่ละวงรอบ จนได้รูปแบบการบำบัดผู้ติดยาเสพติดที่มีภาวะซึมเศร้า ได้แก่ การใช้โปรแกรมบำบัดยาเสพติดผู้ป่วยนอก ร่วมกับโปรแกรมการบำบัดตามแนวคิดซาเทียร์ โดยมีครอบครัวเข้าร่วมกระบวนการกลุ่ม 3. ผลของการพัฒนารูปแบบการบำบัดผู้ติดยาเสพติดที่มีภาวะซึมเศร้าพบผู้ติดยาเสพติดที่มีภาวะซึมเศร้ารุนแรง 24 คน ไม่พบภาวะซึมเศร้า (ร้อยละ 87.50) และมีภาวะซึมเศร้าระดับน้อยร้อยละ 12.50
สรุปผลการศึกษา : การใช้รูปแบบการบำบัดตามแนวคิดซาเทียร์สามารถลดอาการซึมเศร้าในผู้ติดยาเสพติดได้ เพิ่มความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองให้มีทางเลือกตัดสินใจใช้ชีวิตโดยไม่พึ่งพายาเสพติดต่อไป
References
Conway KP, Compton W, Stinson FS, Grant BF. Life-time comorbidity of DSM-IV mood and anxiety disorders and specific drug use disorders: Results from the National Epidemiologic Survey on Alcohol and Related Conditions. J Clin Psychiatry 2006; 67(2): 247-57.
Hall W, Hando J, Darke S, Ross J. Psychological morbidity and route of administration among amphetamine users in Sydney, Australia. Addiction 1996; 91(1): 81-7.
Bao YP, Qiu Y, Yan SY, Jia ZI, Li SX, Lian Z, et al.Pattern of drug use and depressive symptoms among amphetamine type stimulants users in Beijing and Guangdong province, China. PLOS ONE [Internet]. 2013 [cited 2018 Aug 10]; 8:e60544. Available from: https: //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/ PMC3621819/pdf/pone.0060544.pdf
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. น่าห่วง ผลสำรวจพบคนไทยเป็นโรคติดการพนันเพิ่มขึ้น ใช้สารเสพติดมากขึ้น. ค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2566, [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/content/2023/07/28033
ศูนย์วิจัยและสารสนเทศโรคซึมเศร้า. ภาวะสังคมไทยไตรมาส 3 “ผู้ป่วยจิตเวช-ยาเสพติด” พุ่งสูง. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://prgroup.hss.moph.go.th /news/1452-%
โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. สรุปผลการดำเนินงานกลุ่มงานสุขภาพจิตและยาเสพติด ปี 2565. กลุ่มงานสุขภาพจิตและยาเสพติด: มหาสารคาม; 2565.
Banmen, J. Satir transformational systemic therapy. Palo Alto, Calif.: Science and Behavior Books; 2008. Kemmis, S & McTagart, R. The Action Research Planer. (3rd ed.). Victoria : Deakin University; 1988.
นิตยา จรัสแสง และคณะ. ผลการบำบัดตามแนวคิดซาเทียร์ต่ออาการซึมเศร้า ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและความสอดคล้องกลมกลืนในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2565;36(2):97-114.
รพีพร คำแก้ว. การสร้างโปรแกรมบำบัดโรคซึมเศร้าโดยการประยุกต์ใช้ Satir's model ดี [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hpc2 appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web/files /2566/research/MA2566-004-01-0000001117-0000001384.pdf
กัณฐรัตน์ เหลืองอ่อน. การประยุกต์ใช้แนวคิดของซาเทียร์โมเดลในการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตในการป้องกันการติดเกมในวัยรุ่น [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาประยุกต์]. กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2563.
เนาวรัตน์ สิงห์สนั่น. และจุฬาลักษณ์ นิลอาธิ. การนำ SATIR MODEL สู่การปฏิบัติในการดูแลสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2563;7(9):16-29.
สุจิตตา ฤทธิ์มนตรี. ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดของซาเทียร์โมเดลเพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้ติดยาบ้าที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพแบบควบคุมตัวไม่เข้มงวด. วารสารกรมการแพทย์. 2564;46(1):212-217.
เพ็ญพักตร์ อุทิศ และคณะ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการของโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นที่เสพยาบ้า. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2561;27(6):965-977.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม