บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • เกตุนรินทร์ บุญคล้าย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พิชญาณัฏฐ์ แก้วอำไพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุกิจ ทองพิลา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กนกวรรณ เวทศิลป์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วรรณชาติ ตาเลิศ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อนุศร การะเกษ โรงพยาบาลราษีไศล

คำสำคัญ:

การติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง, การล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง, บทบาทพยาบาลผู้จัดการดูแล, โรคไตวายระยะสุดท้าย

บทคัดย่อ

โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease; CKD) มีอุบัติการณ์การเกิดโรคสูงขึ้นและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทั่วโลกและประเทศไทย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อเข้าสู่ไตวายระยะสุดท้าย (End Stage Renal Disease; ESRD) จำเป็นต้องรับการบำบัดทดแทนไต และเนื่องจากปัญหาขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจเผชิญกับภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้

บทความนี้นำเสนอบทบาทพยาบาลผู้จัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis; CAPD) และมีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง พยาบาลซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วย จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ ทั้งการดำเนินโรค วิธีการรักษา ภาวะแทรกซ้อน สามารถจัดการกับอาการแสดงที่เปลี่ยนแปลงได้ รวมถึงพยาบาลต้องมีทักษะในการประยุกต์ใช้การพยาบาลในการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและเผชิญกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

GBD Chronic Kidney Disease Collaboration. Global, regional, and national burden of chronic kidney disease, 1990-2017: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2020. Lancet, 395(709-733), 32061315.

กันตพร ยอดใชย. ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง:การพยาบาลและการจัดการอาการ. สงขลา: พี ซี โปรสเปค; 2562.

Li PK., Kwong VW. Current challenges and opportunities in PD. Seminars in nephrology. 2017;37(1):2–9.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. ข้อมูลการบําบัดทดแทนไตในประเทศไทยพ.ศ.2563. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nephrothai.org/wp-content/uploads/2022/06/Final-TRT-report-2020.pdf

Luo Q, Xia X, Lin Z, Lin J, Yang Y, Huang F, Yu X. Very early withdrawal from treatment in patients starting peritoneal dialysis. Ren Fail. 2018;40(1):8-14.

บัญชา สถิระพจน์, อำนาจ ชัยประเสริฐ, เนาวนิตย์ นาทา, อุปถัมภ์ ศุภสินธุ์. Manual of Nephrology.กรุงเทพฯ: โครงการตำราวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ พระมงกุฎเกล้า; 2559.

เยาวลักษณ์ พวงจิตร. การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2563;17(3):148-65.

เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์. แนวปฎิบัติการล้างไตทางช่องท้อง พ.ศ. 2560, Clinical Practice Guideline (CPG) for Peritoneal Dialysis 2017. กรุงเทพฯ: เฮลธ์เวิร์ิคพลัส; 2560.

พันทิวา เวชกามา. การพัฒนารูปแบบดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลยโสธร. ยโสธรเวชสาร. 2566;25(1):38-53.

อินทิรา สุขรุ่งเรือง. การดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง ภายใต้นโยบายล้างไตทางช่องท้องเป็นทางเลือกแรก: จากนโยบายสู่การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและ การศึกษา. 2563;21(1):4-6.

ประทุม สร้อยวงค์. การพยาบาลอายุรศาสตร์. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2564.

ปิ่นแก้ว กล้ายประยงค์, ฉัตรสุดา เอื้อมมานะพงษ์, บรรณาธิการ. ข้อแนะนำการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยฟอกเลือดและผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร; 2558.

วันดี โตสุขศรี. การพยาบาลอายุรศาสตร์ เล่ม 2 ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-27