การบริหารจัดการยา วัสดุทางการแพทย์ และวัคซีนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19: กรณีศึกษาจังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ระบบการบริหารจัดการยา, วัสดุทางการแพทย์, วัคซีน, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อถอดบทเรียนระบบการบริหารจัดการยา วัสดุทางการแพทย์ และวัคซีนภายในจังหวัด มหาสารคาม รวมทั้งศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
รูปแบบและวิธีการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบ Face-to-face และ In-depth interview ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหาร บุคลากรทางการแพทย์ ประชาชนที่มารับบริการวัคซีน และผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่หายแล้ว และผู้ป่วยโรคติดต่อไม่เรื้อรัง โดยใช้กรอบของ WHO Health System Framework ในการออกแบบแนวทางการสัมภาษณ์และเป็นกรอบในการวิเคราะห์ และสรุปผลการวิจัยโดยใช้ Content analysis
ผลการศึกษา : พบประเด็นหลักที่สำคัญ 3 ข้อ ได้แก่ 1. นโยบายและการจัดการควบคุมการระบาดในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2. ระบบการบริหารจัดการยาและวัสดุทางการแพทย์และวัคซีน 3. ปัญหาอุปสรรคและการแก้ไขในแต่ละช่วงของการระบาด ซึ่งพบว่ามีการขาดแคลนยาและเวชภัณฑ์ รวมทั้งวัคซีนในช่วงที่มีการระบาดมาก ปัญหาความไม่เท่าเทียมในการกระจายวัคซีน และปัญหาการเก็บรักษาวัคซีนตามระบบ Cold chain สำหรับการให้บริบาลเภสัชกรรม คลินิกเฉพาะโรค มีความจำเป็นต้องงดหรือลดการให้บริการลง ทำให้เกิดระบบบริการสุขภาพทางไกล และการส่งยาให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทางไปรษณีย์ และข้อจำกัดด้านงบประมาณจากส่วนกลาง ทางโรงพยาบาลจำเป็นต้องใช้เงินบำรุงของโรงพยาบาลและระดมเงินบริจาคในการปรับปรุงสถานที่ จัดหาเครื่องมือแพทย์ ยา และเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ให้เพียงพอต่อผู้ป่วยและประชาชน อัตรากำลังของบุคลการทางการแพทย์ทั้งเชิงรับและเชิงรุกไม่เพียงพอ แต่มีจิตอาสาเกิดขึ้นทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกโรงพยาบาลรวมทั้งประชาชนจิตอาสา และผู้ป่วยจิตอาสาในโรงพยาบาลสนาม
สรุปผลการศึกษา : การศึกษานี้ทำให้เข้าใจปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในกระบวนการบริหารยาและวัสดุทางการแทพย์ รวมทั้งวัคซีน นำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการปรับปรุงระบบการการทำงานให้ดีขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้ เพื่อให้สามารถรองรับสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต
References
ข้อมูลสถิติในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019. กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม (ข้อมูล ณ กันยายน 2564). มหาสารคาม: โรงพยาบาลมหาสารคาม; 2564.
ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การวิจัยเชิงคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์ จำกัด; 2553.
วรรณวดี สุทธินรากร. การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์ สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์; 2561.
Işık EE, Yildiz ST. Optimizing the COVID-19 cold chain vaccine distribution network with medical waste management: A robust optimization approach. Expert Systems with Applications. 2023 Nov 1; 229.
Valizadeh J, Boloukifar S, Soltani S, Hookerd EJ, Fouladi F, Rushchtc AA, Du B, Shen J. Designing an optimization model for the vaccine supply chain during the COVID-19 pandemic. Expert Systems with Applications. 2023 Mar 15; 214.
Liberati E, Richards N, Willars J, Scott D, Boydell N, Parker J, et al. A qualitative study of experiences of NHS mental healthcare workers during the Covid-19 pandemic. BMC Psychiatry 2021; 21(1).
Denham F, Varese F, Hurley M, Allsopp K. Exploring experiences of moral injury and distress among health care workers during the Covid‐19 pandemic. Psychology and Psychotherapy: Theory, Research and Practice. 2023 Dec;96(4):833-48.
Kwon S, Kang BA, You M, et al. Perceived barriers to the process of COVID-19 control among frontline healthcare workers in South Korea: a qualitative study. BMJ Open 2022; 12:e063899. doi:10.1136/ bmjopn-2022-063899
Govindan R, Gandhi S, Nattala P, Rajeswari B. Lived-in experiences of health care professionals affected with COVID-19. Indian Journal of Psychiatry. 2023 Jul 1;65(7): 729-35.
Borghi J, Brown GW. Taking systems thinking to the global level: using the WHO building blocks to describe and appraise the global health system in relation to COVID‐19. Global Policy. 2022 May;13(2):193-207.
ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, จิราพร วรวงศ์, เพ็ญนภา ศรีหริ่ง, รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, ดิษฐพล ใจซื่อ และคณะ. การถอดบทเรียนรูปแบบการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกันและ ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข ภาตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 24 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5427
รัตพงษ์ สอนสุภาพ, สิตานนท์ เจษฎาพิพัฒน์, อิสรีย์ ภักดิ์ศรีแพง. การบริหารจัดการเวชภัณฑ์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : ปัญหา อุปสรรคในการจัดซื้อของภาครัฐ ภาคเอกชน และแนวทางทางการแก้ไข [อินเทอร์เน็ต] สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 24 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5556
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม