การพัฒนารูปแบบการบริการพยาบาลผู้ป่วยติดเตียงที่ใส่ท่อเจาะคอในชุมชน อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยติดเตียง, รูปแบบการบริการพยาบาล, ผู้ป่วยใส่ท่อเจาะคอบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการบริการพยาบาลผู้ป่วยติดเตียงที่ใส่ท่อเจาะคอในชุมชน อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
วิธีการศึกษา : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) พื้นที่ศึกษาคือหน่วยบริการปฐมภูมิ 21 แห่ง ผู้ร่วมดำเนินการวิจัยเป็นผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วย 19 ราย การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย 1) ระยะเตรียมการ 2) ระยะดำเนินการ 3) ระยะประเมินผล ดำเนินการวิจัยระหว่างเมษายน 2565 - มีนาคม 2566 เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบประเมินความรู้/ทักษะการดูแลผู้ป่วย แบบประเมินความพึงพอใจต่อการบริการและนวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษา : รูปแบบการบริการพยาบาลผู้ป่วยติดเตียงที่ใส่ท่อเจาะคอในชุมชน ด้วย 7 aspects model of care ประกอบด้วย 7 ประเด็นดังนี้ 1) การประเมินผู้ป่วย ในระยะแรกรับระยะการดูแลต่อเนื่องและระยะจำหน่าย 2) การจัดการกับอาการรบกวนต่าง ๆ 3) การดูแลความปลอดภัยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บต่าง ๆ 4) การป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างรักษาพยาบาลด้วยการเสริมทักษะการดูแลผู้ป่วยด้วยโปรแกรมวางแผนจำหน่าย “B&TT-D-METHOD” 5) การให้การดูแลต่อเนื่องด้วยโปรแกรมระบบ Smart continuum of care (Smart COC) ประเมินความรู้ผู้ป่วยและผู้ดูแลเกี่ยวกับการดูแลตนเองหลังกลับบ้าน สอนสาธิตพร้อมให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวเพิ่มเติมโดยการติดตามเยี่ยมบ้าน 6) การช่วยเหลือสื่อสารเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจและการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยผ่านระบบ Tele-nursing และ Application line และ 7) การสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ป่วย/ผู้ใช้บริการ โดยแพทย์และพยาบาล จากการสร้างความเชี่ยวชาญ และความร่วมมือโดยพัฒนาทักษะการเปลี่ยนท่อเจาะคอผลการพัฒนารูปแบบการดูแล กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 19 ราย มีผู้ดูแลมีความรู้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 57.89 เป็น 91.21 มีทักษะการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 59.87 เป็น 90.79 มีความพึงพอใจต่อบริการพยาบาลและความพึงพอใจต่อศูนย์ดูแลผู้ป่วยเจาะคอในชุมชนอยู่ในระดับมากที่สุด
สรุปผลการศึกษา : การพัฒนารูปแบบการบริการพยาบาลผู้ป่วยติดเตียงที่ใส่ท่อเจาะคอในชุมชนเป็นกระบวนการที่นำไปปฏิบัติโดยการส่งเสริมให้ผู้ดูแลผู้ป่วยและเครือข่ายในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
References
Spataro E, Durakovic N, Kallogjeri D, Nussenbaum B. Complications and 30-day hospital readmission rates of patients undergoing tracheostomy: a prospective analysis. Laryngoscope 2017;127(12):2746–2753. https://doi.org/10.1002/ lary.26668.
Bonvento B, Wallace S, Lynch J, Coe B, McGrath B. Role of the multidisciplinary team in the care of the tracheostomy patient’, Journal of Multidisciplinary Healthcare 2017;10(1):391– 398.
Murray M, Shen C, Massey B, Stadler M, Zenga J. Retrospective analysis of post- tracheostomy complications. American Journal of Otolaryngology–Head and Neck Medicine and Surgery 2022;43:1-3. https://doi.org/10.1016/j.amjoto.2021.103350
Abril MK, Berkowitz DM, Chen Y, Waller LA, Martin GS, Kempker JA. The epidemiology of adult tracheostomy in the United States 2002–2017: A serial cross-sectional study. Critical Care Explorations 2021;3(9):1-11. https://doi.org/ 10.1097/CCE.0000000000000523
Nakarada-Kordic I, Patterson N, Wrapson J, Reay SD. A systematic review of patient and caregiver experiences with a tracheostomy. Patient 2018; 11:175–191. https://doi.org/10.1007/s40271-017-0277-1
Perry A, Casey E, Cotton S. Quality of life after total laryngectomy: functioning, psychological well-being and self-efficacy. International Journal of Language & Communication Disorders 2015;50(4):467–475. https://doi.org/10.1111/1460- 6984.12148
กองการพยาบาล. การประกันคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล. งานบริการพยาบาลผู้ป่วยใน. กรุงเทพ: สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข; 2544.
เสาวลักษณ์ เกษมสุข, วีนารัตน์ กันจีน๊ะ, ดารณี ศิริบุตร. การเกิดภาวะแทรกซ้อน จำนวนวันนอน โรงพยาบาล และการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำภายใน 28 วัน ภายหลังการใช้ระบบการดูแลแบบ 7 ASPECTS OF CARE ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเนื้องอกมดลูก หอผู้ป่วยนรีเวชกรรม โรงพยาบาล เชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร. 2562;11(1): 85-91.
สุธาวัลย์ สัญจรดี, พนิดา พวงไพบูลย์, นิสากร เห็มชนาน. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ระยะเฉียบพลันด้วย 7 aspects model of care. วารสาร วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. 2565;6(3):1-18.
สุทธิรัตน์ บุษดี,บรรจง จาดบุญนาค, วราภรณ์ ศรีวิสิทธิ์, ประสงค์ ขั้วจำเริญ. การพัฒนาระบบการ บริการเยี่ยมบ้านเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน/ชุมชนของโรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2561;15(special Issue):52-53.
Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Reader (3rd ed.). Victoria: Deakin University; 1990.
กิ่งกาญจน์ ชุ่มจำรัส, เพชรน้อย สิงห์ช่วงชัย. ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายร่วมกับให้ครอบครัวมีส่วนร่วมใน การดูแลผู้ป่วยเจาะคอ ต่อความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยเจาะคอและความพึงพอใจของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2561;5(1):124-134.
สุนทร มาลาศรี. ผลการพัฒนาระบบการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยเตียงประเภทที่ 3 และเตียงประเภทที่ 4 อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2560;1(1):91-97.
สุภาณี แก้วธำรง, นุจรี ฮะค่อม. บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤตที่ได้รับการเจาะคอ และใส่ท่อหลอดลมคอในหอผู้ป่วยไอซียู. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2563;28(4):114-123.
วนิดา บุญพิเชฐและคณะ. คุณภาพการดูดเสมหะในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมคอของพยาบาลประจำการ. วารสารสภาการพยาบาล. 2542;14(2):69-83.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม