ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ร่วมกับการกดจุดสะท้อนเท้าต่อพฤติกรรมการลดสูบบุหรี่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • นิวัฒน์ วงศ์ใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • อรุณรัตน์ ปัญจะ กลิ่นเกษร มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการลดสูบบุหรี่, การกดจุดสะท้อนเท้า, นักศึกษามหาวิทยาลัย, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ร่วมกับการกดจุดสะท้อนเท้าต่อพฤติกรรมการลดสูบบุหรี่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ร่วมกับการกดจุดสะท้อนเท้า 2. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 3. แบบสอบถามพฤติกรรมการลดสูบบุหรี่ และ 4. แบบประเมินระดับการติดนิโคติน (FTND) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเปรียบเทียบ t-test

ผลการศึกษา : ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการลดสูบบุหรี่ของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และระดับการติดสารนิโคตินของกลุ่มทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุปผลการศึกษา : โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ร่วมกับการกดจุดสะท้อนเท้า สามารถช่วยให้นักศึกษามีพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ดีขึ้นและยังช่วยลดระดับการติดสารนิโคติน

References

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. บุหรี่คือฆาตกร. ก้าวทันวิจัยกับ ศจย. 2562;11(2):4-5.

World health organization. Tobacco [Internet]. 2023 [cited 2022 Jun 5]. Available from: https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/375711/9789240088283-eng.pdf?sequence=1

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม; 2564.

สำนักงานสถิติจังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานสถิติจังหวัดร้อยเอ็ด 2564. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก http://roiet.nso.go.th/index.php?option=com_content =510

Mohammadi S, Ghajari H, Valizade R, Ghaderi N, Yousefi F, Taymoori P, Nouri B. Predictors of smoking among the secondary high school boy students based on the health belief model. Int J Prev Med. 2017;8(1):24-8.

Pribadi ET, Devy SR. Application of the Health Belief Model on the intention to

stop smoking behavior among young adult women. J Public Health Res. 2020;9(2):121-24.

Rosenstock MI, Strecher VJ, Becker MH. Social learning theory and health belief model. Health Educ Q. 1988;15(2):175-83.

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. การแพทย์ทางเลือก: นวัตกรรมสุขภาพ “กดจุดสะท้อนเท้าช่วยเลิกบุหรี่”. กรุงเทพฯ: สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก; 2560.

อัมพร กรอบทอง, ธนัท ดลอัมพรพิศุทธิ์, ทิพวัลย์ ธีรริโรจน์. การศึกษาเบื้องต้นแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุมของผลสัมฤทธิ์การนวดกดจุดสะท้อนเท้ารักษาผู้ป่วยติดบุหรี่. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2558;13(1):35-43.

คอลิด ครุนันท์, จารุวรรณ มานะสุรการ, เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่บูรณาการสมรรถนะแห่งตนในการเลิกบุหรี่ ต่อพฤติกรรมและสมรรถนะแห่งตนในการเลิกบุหรี่ของผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2561;5(10):47-61.

ศุลีวงศ์ สนสุผล. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มีต่อการเลิกบุหรี่ของนักศึกษาชายในระดับมัธยมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา; 2551.

ผ่องศรี ศรีมรกต. การบําบัดเพื่อช่วยให้เลิกบุหรี่. กรุงเทพฯ: เอ็น พี เพรส; 2550.

Green EC, Murphy EM, Gryboski K. The health belief model [Internet]. 2020 [cited 2022 Aug 22]. Available from: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/9781119057840.ch68

เขมิกา ณภัทรเดชานนท์, ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์, จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์. ผลของโปรแกรมการลดการสูบบุหรี่โดยใช้การรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการลดการสูบบุหรี่อย่างมีส่วนร่วมของนักศึกษาที่ติดบุหรี่. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2566;29(2):1-15.

ประสิทธิ กล้าหาญ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่รับไว้ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 2562;4(3):e0068.

Renuka P, Pushpanjali K. Effectiveness of health belief model in motivating for tobacco cessation and to improving knowledge, attitude and behavior of tobacco users. Canc Oncol Res. 2014;2(4):43-50.

Kengganpanich T, Kengganpanich M, Dolampornpisuth T, Pothprasith S, Kavowlai S. Successful Smoking Cessation after Foot Reflexology. Thai Journal of Public Health. 2021;51(3):223-33.

สุดารัตน์ เกตุรัตน์, จิรายุ เพชรประสิทธิ์. ประสิทธิผลการนวดกดจุดสะท้อนเท้าต่อการสูบบุหรี่ของกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด. ใน: การประชุมวิชาการ: นำเสนอประสบการณ์และงานวิจัยการแพทย์ทางเลือกในระบบบริการสุขภาพ; วันที่ 6-8 มิ.ย. 2561; ณ โรงแรมริชมอนด์. นนทบุรี: กองการแพทย์ทางเลือก; 2561. หน้า 7-18.

สมศรี โพธิ์ประสิทธิ์, จารุพร จันทาศรี. เปรียบเทียบการเลิกสูบบุหรี่ระหว่างการใช้เทคนิคการนวดกดจุดสะท้อนเท้ากับได้รับการให้สุขศึกษาตามปกติของผู้รับบริการคลินิกเลิกบุหรี่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลดอนทราย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 2561;3(1):85-96.

วรากุล หงษ์เทียบ, นพมาศ สุทธิวิรัช, อรวรรณ ชาครียสกุล, จิรภา ผาตินาวิน, ศุภกิจ รัตนาภินันท์ชัย, วิมลพรรณ นิธิพงษ์. ผลของการนวดกดจุดสะท้อนเท้าเลิกบุหรี่ต่อพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ของนักเรียน ในโรงเรียนสายธรรมจันทร์ จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาล. 2561;67(1):46-52.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-27