ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายปัสสาวะในผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การคาสายสวนปัสสาวะ, การติดเชื้อในโรงพยาบาล, อุบัติการณ์การติดเชื้อบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลและศึกษาผลการใช้แนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการใส่คาสายสวนปัสสาวะ โรงพยาบาลมหาสารคาม
รูปแบบและวิธีการวิจัย : การวิจัยใช้รูปแบบการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลตามวิธีของไอโอวา โมเดล พัฒนาโดย Tiler et al. (2001) และนำไปใช้ในกลุ่มพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 23 คน ผู้ป่วย 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คู่มือและแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลของระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยเด็กที่คาสายสวนปัสสาวะและแผนผังแนวปฏิบัติ แบบประเมินการปฏิบัติและแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ซึ่งแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลของระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยเด็กที่คาสายสวนปัสสาวะผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างโดยทดสอบสถิติไคสแควร์ (Chi-square test) และสถิติฟิชเชอร์ (Fisher’s exact probability test)
ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 67.0 และ 70.0 ตามลำดับ อายุอยู่ระหว่างมากกว่า 10-15 ปี ร้อยละ 52.3 ปี และ 54.8 สถานที่ใส่สายสวนปัสสาวะครั้งแรกที่มาโรงพยาบาลก่อน และหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อเพื่อป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายปัสสาวะในผู้ป่วยเด็ก พบที่หอผู้ป่วยหนักเด็ก ร้อยละ 68.7 และร้อยละ 71.4 ซึ่งส่วนมากมาด้วยติดเชื้อที่ปอดรุนแรง ร้อยละ 63.5 และ 68.8 ตามลำดับ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยเด็กและหอผู้ป่วยหนักเด็ก มีการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อเพื่อป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายปัสสาวะในผู้ป่วยเด็ก โดยรวมปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนร้อยละ 87.8 และไม่ปฏิบัติร้อยละ 12.3 อัตราการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่ใส่คาสายสวนปัสสาวะ ก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติพยาบาลฯ ลดลงจาก 10.6 ครั้ง เป็น 0.9 ครั้งต่อพันวันที่คาสายสวนปัสสาวะ และพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ความพึงพอใจโดยรวมของพยาบาลวิชาชีพต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.5)
สรุปผลการศึกษา : จากผลการวิจัยผู้บริหารทางการพยาบาล ควรกำหนดแนวทางและนโยบาย ให้บุคลากรทางการพยาบาลปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายปัสสาวะในผู้ป่วยเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการสร้างมาตรฐานการพยาบาลที่สามารถปฏิบัติได้ เพื่อให้บุคลากรใช้เป็นแนวทางได้อย่างชัดเจน
References
ฐานิตา โฉมเกิด และวัฒนา พรรณพานิช.การเปลี่ยนแปลงทางจุลกายวิภาคของทางเดินปัสสาวะ Escherichia coli ในทางเดินปัสสาวะเนื่องมาจากการใส่สายสวนปัสสาวะ. ศรีนครินทร์เวชสาร.2562;34(4):406-413.
Centers for Disease Control and Prevention [CDC] & National Health care Safety Network[NHSN]. Urinary tract infection catheter associated urinary tract infection and non catheter-associated urinary tract infection and other urinary system infection events. [อินเทอร์เน็ต]. 2567[เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฏาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.cdc.gov/nhsn/pdfs/pscmanual/7psccauticurrent.pdf.
Rosenthal MD et al. International Nosocomial Infection Control Consortium (INICC)report,data summary of 45 countries for 2013-2018,Adult and Pediatric Unit, Device-associated Module. American Journal of Infection Control. 49(10):1267-1274.
ศุภชัย รักแก้ว และคณะ. ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนปัสสาวะในผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารพยาบาลสาร. 2566;50(2)27-40.
งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2564 -2566. มหาสารคาม: โรงพยาบาลมหาสารคาม; 2566.
Unahalekhaka, A. Epidemiology an evidencebased practice guideline in prevention of hospital-associated infections. Chiang Mai: Mingmuang; 2013.
Henry. Evaluation of evidence-based practice of catheter associated urinary tract infections prevention in a critical care setting: An integrative review. Journal of Nursing Education and Practice. 2018;8(7):22-30.
Izna, A Study of Risk factors, Occurrence and aetiology of Catheter Associated Urinary Tract Infections (CAUTI) and Antibiotic Sensitivity Pattern from confirmed cases of CAUTI in a Tertiary care Hospital.2021. [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฏาคม 2567].เข้าถึงได้จาก: https://www.semanticscholar.org/paper.
Magrahi et al. Study of Risk Factors for Catheter-Associated Urinary Tract Infection. [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฏาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.researchgate.net/deref/journal.
Millner R, et al. Urinary Tract Infections. Pediatr Clin North Am. 2019 Feb;66(1):1-13.
ทิวากร กล่อมปัญญา. ผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนปัสสาวะต่อผลลัพธ์ที่คัดสรร. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ.2561;41(4):90-97.
อารักษ์ พระสว่าง. การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะในชุมชน อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฏาคม 2567] เข้าถึงได้จาก: https://bkpho.moph.go.th/.
สมร ประทุมไทย.ผลการพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะในโรงพยาบาลบึงสามพัน. วารสารสุขภาพและ สิ่งแวดล้อมศึกษา. 2564;6(2):90-97.
อนุสรา แก้ววิชัย. ผลของการส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมระบบประสาทโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกรียติ. [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฏาคม 2567] เข้าถึงได้จาก: https://www.hospital.tu.ac.th/ndtuh/upload/addsome/files/2022032414223373.pdf.
The Iowa Model of Evidence-Based Practice to Promote Quality Care. MG Titler Critical Care Nurse Clinic North Am. 2001 Dec;13(4):497-509.
สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. เครื่องมือการประเมินคุณภาพแนวทางปฏิบัติ สำหรับการวิจัยและการประเมินผล (Appraisal of Guideline for Research & Evaluation II; AGREE II). [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [วันที่ 20 กรกฏาคม 2567].เข้าถึงได้จาก: http://www.imrta.dms.moph.go.th/imrta/images/AGREE-book.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม