การเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ระหว่างการใช้ไตรเฟอร์ดีนกับไตรเฟอร์ดีนร่วมกับเฟอร์รัสฟูมาเรท โรงพยาบาลบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • สุชีวา ราชูโส, พ.บ. โรงพยาบาลบึงกาฬ

คำสำคัญ:

ภาวะโลหิตจาง, หญิงตั้งครรภ์, ไตรเฟอร์ดีน, เฟอร์รัสฟูมาเรท

บทคัดย่อ

ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์เป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ ทั้งในระหว่างตั้งครรภ์ขณะคลอดและหลังคลอด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ระหว่างการใช้ไตรเฟอร์ดีน กับไตรเฟอร์ดีน
ร่วมกับเฟอร์รัสฟูมาเรท ในหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ามารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลบึงกาฬ เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน กลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 41 คน เก็บข้อมูลส่วนบุคคล และผลการรักษาภาวะโลหิตจาง
ในหญิงตั้งครรภ์ และภาวะสุขภาพทารก ในช่วงเวลา 1 มกราคม 2553 ถึง 30 พฤศจิกายน 2565  ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบความต่างก่อนและหลังของค่าเฉลี่ยของ Hemoglobin ระหว่างกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้ไตรเฟอร์ดีนอย่างเดียวกับหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้ไตรเฟอร์ดีนร่วมกับเฟอร์รัสฟูมาเรท ผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มขึ้นของ Hemoglobin ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้ไตรเฟอร์ดีนร่วมกับเฟอร์รัสฟูมาเรท มากกว่า กลุ่มหญิงตั้งครรภ์เข้ามารับบริการฝากครรภ์ที่ใช้ไตรเฟอร์ดีนอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) และภาวะสุขภาพทารกในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์เข้ามารับบริการฝากครรภ์ที่ใช้ไตรเฟอร์ดีนร่วมกับเฟอร์รัสฟูมาเรทมีน้ำหนักทารกแรกคลอด และ Apgar score มีแนวโน้มที่ดีกว่ากลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ามารับบริการฝากครรภ์ที่ใช้ไตรเฟอร์ดีนอย่างเดียว ดังนั้นจึงควรแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีฮีโมโกลบิน 8-10 g/dL ที่ได้รับยาเสริมธาตุเหล็กควรได้รับเฟอร์รัสฟูมาเรทเสริมเพิ่มจากการได้ไตรเฟอร์ดีนจะทำให้สามารถแก้ไขภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ได้ดีขึ้น

Author Biography

สุชีวา ราชูโส, พ.บ., โรงพยาบาลบึงกาฬ

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ, รองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิ

References

World Health Organization. Anaemia [Internet]. 2022. Available from: https://www.who.int/health-topics/anaemia#tab=tab_1

Beckert RH, Baer RJ, Anderson JG, Jelliffe-Pawlowski LL, Rogers EE. Maternal anemia and pregnancy outcomes: a population-based study. Journal of Perinatology. 2019;39(7):911–9.

Garzon S, Cacciato PM, Certelli C, Salvaggio C, Magliarditi M, Rizzo G. Iron deficiency anemia in pregnancy: novel approaches for an old problem. Oman Medical Journal. 2020;35(5):e166.

Smith C, Teng F, Branch E, Chu S, Joseph K. Maternal and perinatal morbidity and mortality associated with anemia in pregnancy. Obstetrics and gynecology. 2019;134(6):1234.

Stevens GA, Finucane MM, De-Regil LM, Paciorek CJ, Flaxman SR, Branca F, et al. Global, regional, and national trends in haemoglobin concentration and prevalence of total and severe anaemia in children and pregnant and non-pregnant women for 1995–2011: a systematic analysis of population-representative data. The Lancet Global Health. 2013;1(1):e16–25.

Herzog SA, Leikauf G, Jakse H, Siebenhofer A, Haeusler M, Berghold A. Prevalence of anemia in pregnant women in Styria, Austria—A retrospective analysis of mother-child examinations 2006–2014. Plos one. 2019;14(7):e0219703.

Wu Y, Ye H, Liu J, Ma Q, Yuan Y, Pang Q, et al. Prevalence of anemia and sociodemographic characteristics among pregnant and non-pregnant women in southwest China: a longitudinal observational study. BMC Pregnancy and ChildBirth. 2020;20(1):1–10.

Seu M, Mose JC, Panigoro R, Sahiratmadja E. Anemia prevalence after iron supplementation among pregnant women in midwifes practice of primary health care facilities in eastern indonesia. Anemia. 2019;2019.

Health Data Center. ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ [Internet]. 2565. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.

กัลย์สุดา อริยะวัตรกุล, นริศรา วงศ์ทอง. ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในนิสิตแพทย์หญิง. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต. 2565;32(4):315–22.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ แนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ถนนตวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ถนนตวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี; 2556.

นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล. รายงานการศึกษาผลของการให้ยาเม็ดเสริมไอโอดีนต่อภาวะโภชนาการไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2562.

Means RT. Iron deficiency and iron deficiency anemia: implications and impact in pregnancy, fetal development, and early childhood parameters. Nutrients. 2020;12(2):447.

Martí A, Peña-Martí G, Muñoz S, Lanas F, Comunian G. Association between prematurity and maternal anemia in Venezuelan pregnant women during third trimester at labor. Archivos Latinoamericanos de Nutricion. 2001;51(1):44–8.

Park DI, Ryu SH, Oh SJ, Yoo TW, Kim HJ, Cho YK, et al. Significance of endoscopy in asymptomatic premenopausal women with iron deficiency anemia. Digestive diseases and sciences. 2006;51(12):2372–6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-13