เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, RTF, or WordPerfect document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines, which is found in About the Journal.
  • If submitting to a peer-reviewed section of the journal, the instructions in Ensuring a Blind Review have been followed.

ข้อแนะนำสำหรับผู้ส่งบทความเพื่อตีพิมพ์วารสารทันตาภิบาล

บทความที่จะลงตีพิมพ์ในวารสารทันตาภิบาล

เป็นบทความที่เกี่ยวข้องกับงานทันตสาธารณสุข ได้แก่ งานส่งเสริมป้องกัน และงานรักษาทางทันตกรรม สรุปได้เป็นกลุ่มดังนี้

  1. บทความวิจัย (Research article)เป็นบทความทั้งวิจัยพื้นฐานและบทความวิจัยประยุกต์ ทางทันตสาธารณสุข
  2. รายงานผู้ป่วย (Case report)เป็นบทความที่นำเสนอรายงานผู้ป่วยที่น่าสนใจ ในด้านใดด้านหนึ่งได้แก่ การค้นพบโรคใหม่ การพบความสัมพันธ์ ความเกี่ยวเนื่องของโรค หรือปรากฏการณ์ใดๆ ที่เกิดร่วมกันอย่างมีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนหรือการค้นพบวิธีการรักษาโรคแบบใหม่  ยาใหม่  หรือแม้กระทั่งผลการรักษาโรคจากยาเดิมซึ่งให้ผลแตกต่างจากปกติโดยมีเหตุผลรองรับทางวิทยาศาสตร์
  3. บทวิทยาการคลินิก (Clinical science article)เป็นบทความที่เกี่ยวข้องกับการรักษาทางทันตกรรม  เทคนิค วิธีการ รวมทั้งข้อมูลในห้องปฎิบัติการ
  4. บทความทางการศึกษา (Education and academicarticle)เป็นบทความที่เกี่ยวกับการศึกษา การเรียนการสอนทางทันตสาธารณสุข
  5. นโยบายทางทันตสาธารณสุข (Oral Health Policy)เป็นบทความที่เกี่ยวกับนโยบายทางทันตสาธารณสุข
  6. บทความปริทัศน์ (Review article) เป็นบทความที่รวบรวมความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งทางทันตกรรม ซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสารหรือหนังสือ นำมาเรียบเรียง  วิเคราะห์  วิจารณ์ หรือเปรียบเทียบกันเพื่อให้เกิดความกระจ่างในเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น

การเตรียมต้นฉบับ

  • ต้นฉบับที่ไม่สมบูรณ์หรือถูกต้องจะส่งคืนเจ้าของบทความเพื่อแก้ไขก่อนส่งให้ผู้ตรวจสอบบทความ (Reviewer)
  • ให้ส่งต้นฉบับที่จะตีพิมพ์ ภาพประกอบ กราฟ ตาราง เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้โปรแกรม Microsoft Word for Window ใช้แบบอักษร Angsana New ขนาดอักษร 16 โดยส่งทาง e-mail : [email protected]
    • จำนวนหน้าไม่เกิน 10 หน้า (รวมภาพประกอบ กราฟ ตาราง และเอกสารอ้างอิง) ใช้ภาษาที่ง่าย กะทัดรัด ชัดเจน ยึดหลักการเขียนทับศัพท์ และศัพท์บัญญัติตามพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน ยกเว้นคำที่แปลไม่ได้หรือแปลแล้วทำให้ใจความไม่ชัดเจนอนุโลมให้ใช้ภาษาอังกฤษ ชื่อบุคคลที่เป็นภาษาต่างประเทศให้ใช้ภาษาต่างประเทศนั้นๆ และใช้ปี พ.ศ. แทนปี ค.ศ.
    • คำย่อใช้เฉพาะที่เป็นสากลเท่านั้น และต้องวงเล็บคำเต็มครั้งแรกก่อน
    • ชื่อยา หรือสารเคมี ใช้ generic name
    • การระบุซี่ฟันอาจเรียกชื่อฟัน เช่น ฟันเขี้ยวแท้บนขวา หรือใช้สัญลักษณ์ตามระบบ FDI two-digit notation เช่น ตรวจพบฟันซี่ 13 กำลังขึ้นมาในช่องปาก
    • วัสดุทางทันตกรรม อนุโลมให้ใช้ภาษาอังกฤษ ยกเว้นมีศัพท์บัญญัติทางทันตกรรม
    • หน้าแรก (Title page) เขียนเป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษประกอบด้วย
      1)  ชื่อเรื่อง
      2)  ชื่อ สกุลของผู้เขียน
      3)  ตำแหน่ง และสถานที่ทำงาน email address และเบอร์โทรศัพท์
      4)  บทคัดย่อ (ไม่เกิน 300 คำ)
      5)  คำสำคัญ (Key words) สำหรับจัดทำดัชนี ระบุไว้ใต้บทคัดย่อ จำนวน 3-6 คำ

การเขียนบทความ

            บทความวิจัย ให้ลำดับเนื้อหาดังต่อไปนี้

            1)  บทนำ (Introduction)
            2)  วัสดุและวิธีการ (Materials and Methods)
            3)  ผลการศึกษา (Results)
            4)  บทวิจารณ์ (Discussion)
            5)  สรุป (Conclusions)
            6)  กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) (ถ้ามี)
            7)  เอกสารอ้างอิง (References)

            รายงานผู้ป่วยให้ลำดับเนื้อหาดังต่อไปนี้

            1)  บทนำ (Introduction)
            2)  รายงานผู้ป่วย (Case report)
            3)  บทวิจารณ์ (Discussion)
            4)  สรุป (Conclusions)
            5)  เอกสารอ้างอิง (References)

            การนำเสนอรายงานผู้ป่วยต้องได้รับการอนุญาตจากผู้ป่วยในการนำเสนอบทความเป็นลายลักษณ์อักษร

            บทความอื่นๆ อนุโลมตามผู้เขียน แต่ให้มีขอบข่ายรูปแบบการเขียนคล้ายบทความวิจัย โดยประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำ เนื้อหา และสรุป

  • ตาราง พิมพ์แยกไว้ด้านหลังบทความพร้อมเขียนเลขที่ตาราง และคำอธิบายตาราง รวมถึงแหล่งที่มา กรณีคัดลอก หรือดัดแปลงมา
  • ภาพประกอบพิมพ์แยกไว้ด้านหลังบทความพร้อมเขียนหมายเลขภาพ และพิมพ์คำบรรยายไว้ใต้ภาพ รวมถึงแหล่งที่มา กรณีคัดลอก หรือดัดแปลงมา
  • กราฟพิมพ์แยกไว้ด้านหลังบทความพร้อมเขียนหมายเลขกราฟและพิมพ์คำบรรยายไว้ใต้กราฟ รวมถึงแหล่งที่มา กรณีคัดลอก หรือดัดแปลงมา

การอ้างอิงเอกสาร

ใช้การอ้างอิงแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver style) โดยใส่หมายเลขเรียงลำดับที่อ้างอิงในบทความ พิมพ์ ยกระดับเหนือข้อความที่อ้างถึงโดยไม่ต้องใส่วงเล็บ ส่วนการเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความการย่อชื่อวารสารใช้ตาม Index  Medicus

ถ้าผู้เขียนไม่เกิน 6 คน ให้ใส่ชื่อทุกคน ถ้ามากกว่า 6 คน ใส่ชื่อ 3 คนแรก และตามด้วย “et al.”  ชื่อวารสาร/หนังสือ/ตำรา ให้ทำตัวหนา และเอียง

ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงเอกสารท้ายบทความ

1.  อ้างอิงบทความวารสาร (Journal article)

Griffin SO, Jones K, Gray SK, Malvitz DM, Gooch BF. Exploring four-handed delivery and retention of resin-based sealants. JADA 2008; 139(3): 281-289.

จินดา เลิศศิริวรกุล. โอลิโกดอนเทียพร้อมกับฟันตัดข้างบนเกิน: รายงานผู้ป่วย 1 ราย. ว.ทันต 2552 เม.ย.-มิ.ย.; 59(2): 81-9.

2.  อ้างอิงบทคัดย่อ (Abstract)

Abed HM, Razzoog ME, Lang BR., Yaman P. The effect of aluminum core thickness on fracture resistance of all-ceramic crowns. [abstract 394].  J Dent Res 1997; 76: 63.

3.  อ้างอิงบทความใน supplement

Ripa LW. Sealants revisted: an update of the effectiveness of pit and fissuresealants. Caries Res 1993; 27(suppl 1): 77-82.

4.  อ้างอิงจากหนังสือหรือตำรา (Books and monographs)

Frencken J, Pitiphat W, Phantumvanit P, Pilot T. Manual Atraumatic Restorative Treatment technique of dental caries. Geramany: WPA Adverstising;1994.       

วรยา มณีลังกา, บรรณาธิการ. ความรู้พื้นฐานทางทันตกรรมบูรณะ. โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก. กรุงเทพฯ: บริษัทธนาเพรส จำกัด;2550.

5.  อ้างอิงบทในหนังสือ หรือตำรา (Chapter in a book)

Meltzer PS, Lallioniemi A, Trent JM. Chromosome alterations in human solid tumors. In: Vogelstein B, Kinzler KW, editors, The genetic basis of human cancer. New York: McGrew-Hill;2002:p.93-113.

วีระชาติ ยุทธชาวิทย์. ความรู้พื้นฐานทางทันตวัสดุ. ใน: วรยา มณีลังกา, บรรณาธิการ. ความรู้พื้นฐานทางทันตกรรมบูรณะ. โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก. กรุงเทพฯ: บริษัทธนาเพรส จำกัด;2550:หน้า 69-78.

6.  เอกสารสรุปผลการประชุม (Conference paper)

Christensen S, Oppacher F. An analysis of Koza’s computational effort statistic for genetic programming.In: Foster JA, Lutton E, Miller J, et al. editors. Genetic programming.Proceedings of the 5th Europeon Conference on Genetic Programming; 2002 Apr 3-5; Kinsdale, Ireland.Berlin: Springer;2002:182-91.

การเขียนจากรายงานที่ได้พิมพ์เป็นชุด (scientific or technical report)

กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 6 ประเทศไทย พ.ศ.2549-2550.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักกิจการองค์การทหารผ่านศึก;2551.

7.  อ้างอิงเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ให้ระบุวันที่สืบค้นและ Homepage/web site

บทความวารสารทางอินเทอร์เนต (Journal article on the Internet)

Azarpazhooh Amir,Main AP.Pit and Fissure Sealants in the Prevention of Dental Caries in Children and Adolescents: Systematicreview. JCDA 2008 [cited 2009 Oct 15];74(2):171- 177. Available from: https://www.cda-adc.ca/jcda/vol-74/issue-2/171.pdf

หนังสือทางอินเทอร์เน็ต (Monograph on the Internet)

Field MJ, Behrman RE. Where children die: improving palliative and end-of-life case for children and their families [monograph on the Internet]. Washington: National Academy Press; 2003 [cited 2008 Sep 26]. Available from: https://nap.edu/openbook.php?record_id=1039&page=1

โฮมเพจน์/เว็บไซต์(Homepage/Web site)

Cancer-Pain.org [homepage on the Internet]. New York Association of Cancer Online Resources, Inc.:c2000-01 [cited 2008 Oct 3]. Available from: https://www.cancer-pain.org/

พจนารถ พุ่มประกอบศรี. วิธีรักษาอาการปากแห้ง. [ออนไลน์] 2551 [อ้างเมื่อ 11 กรกฎาคม 2551] เข้าถึงได้จาก: https://woman.impaqmsn.com/articles/678/78000640.sapx

อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความในวารสารทันตาภิบาล ของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

1) บทความที่ผู้แต่งเป็นบุคลากรภายใน หรือนักศึกษา ของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ค่าธรรมเนียม 2,500 บาท (สองพันห้าร้อยบาทถ้วน)

2) บทความที่ผู้แต่งเป็นบุคคลภายนอกวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น โดยพิจารณาจากชื่อแรก หรือ Corresponding Author ของบทความ ค่าธรรมเนียม 3,500 บาท (สามพันห้าร้อยบาทถ้วน)