ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคปริทันต์ของอาสาสมัครสาธารณสุขในอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย
คำสำคัญ:
โปรแกรมทันตสุขศึกษา, ส่งเสริมพฤติกรรม, การป้องกันโรคปริทันต์, อาสาสมัครสาธารณสุขบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคปริทันต์ของอาสาสมัครสาธารณสุขในอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 60 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 60 คน มีระยะเวลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และเฉพาะกลุ่มทดลองหลังการทดลองจะมีการสัมภาษณ์ข้อมูลเรื่องการนำความรู้ไปเผยแพร่ในชุมชนด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยสถิติ Paired Sample t-test และ Independent Sample t-test สำหรับสื่อทันตสุขศึกษาเป็นสื่อกลางของการเรียนรู้ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษาประกอบด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อ การจัดกิจกรรมกลุ่มการสาธิตและฝึกปฏิบัติการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันที่ถูกวิธี โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมจากกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขและผู้วิจัย ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของด้านความรู้โรคปริทันต์ การรับรู้ความรุนแรงต่อการเกิดโรคปริทันต์ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์ ความคาดหวังในความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคปริทันต์ ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อการป้องกันโรคปริทันต์ และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคปริทันต์สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) คะแนนเฉลี่ยของปริมาณคราบจุลินทรีย์และสภาวะปริทันต์ในกลุ่มทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลองและลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)และหลังจากการทดลองพบว่ากลุ่มทดลองมีการนำความรู้เรื่องการป้องกันโรคปริทันต์ไปเผยแพร่ให้แก่ประชาชนในชุมชน
References
2. Roger. A Protection Motivation theory of Fear Appeals and Attitude Change. Journal of Psychology 1975;91(Supply):93-114.
3. House, J.S. The Association of Social Relationship and activities with mortality:Community health study. American Journal Epidemiology 1981;3(7):25-30.
4. Quigley G., & Hein J.W. Comparative Cleansing Efficacy of Manual and Power Brushing. Journal of American Dentistry Association 1962;1(2):101-105.
5.คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.คู่มือและแนวทางการให้การรักษาผู้ป่วยทันตกรรมพร้อมมูล สำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ที่ฝึกปฏิบัติงานในคลินิกทันตกรรมพร้อมมูล ประจำปีการศึกษา 2559 ภาควิชาทันตกรรมครอบครัวและชุมชน.[ออนไลน์] 2559 [อ้างเมื่อ 20 กรกฎาคม 2559] จากwww.dent.cmu.ac.th/web/relate.php?nid=1607.
6. วีรยุทธ พลท้าวและพรรณี บัญชรหัตถกิจ.ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาร่วมกับการใช้สื่อประสมช่วยประสมช่วยสอนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบในนักเรียน ระดับประถมศึกษาอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารทันตาภิบาล2557;25(2):75-88.
7. เยาวดี มาพูนธนะ และรุจิรา ดวงสงค์. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรง
สนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอเมือง
จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น(ฉบับบัณฑิตศึกษา)2554;11(4):77-88.
8. วนิดา โพธิ์เงิน. การประยุกต์ใช้แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันโรคปริทันต์สตรีวัยทำงาน 35-44 ปี อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ2553;3(1):34-39.
9. จุฬาภรณ์โสตะ. แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ.ขอนแก่น: ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2557.
10.สมบูรณ์ พันธุ์บุตร. ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้แรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตตำบลไร่ขี อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่72557;12(4):40-51.
11.กิตติศักดิ์ มูลละ และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู.วารสารทันตาภิบาล 2555;23(1):42-50.
12.วสุนธรี ขันธรรม, ปิยะนารถ จาติเกตุ และอุบลวรรณ ธีระพิบูลย์. ประสิทธิผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ใช้ชุดดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับการเยี่ยมบ้านในเด็กอายุ 0-2 ปี. วารสารเชียงใหม่ทันตสาร2557;35(1):119-130.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล