พฤติกรรมทันตสุขภาพและสภาวะสุขภาพช่องปากของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • จันทร์เพ็ญ เกสรราช สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์
  • นงลักษญ์ ดาวลอย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์
  • ปองชัย ศิริศรีจันทร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

สุขภาพช่องปาก, การสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ, เด็กประถมศึกษา, พฤติกรรมทันตสุขภาพ

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาวะสุขภาพช่องปาก พฤติกรรมทันตสุขภาพ และศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างพฤติกรรมทันตสุขภาพกับสภาวะสุขภาพช่องปาก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 4,605 คน  ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่าง  มิถุนายน-กรกฏาคม 2558 โดยใช้แบบตรวจสภาวะช่องปาก แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมด้านทันตสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและไคสแควร์

              ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 51.1 สภาวะช่องปากพบว่า เด็กมีความชุกของโรคฟันผุ ร้อยละ 62.3 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (DMFT) 1.9 ซี่ต่อคน (S.D.=2.17)  มีสภาวะเหงือกอักเสบ ร้อยละ 30.8  ด้านพฤติกรรมมีเด็กแปรงฟันก่อนนอนทุกวัน และแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน ร้อยละ 65.8 และ 62.6 ตามลำดับ เด็กดื่มน้ำอัดลม 4-7 วันต่อสัปดาห์ และดื่มน้ำหวาน 4-7 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 33.0 และ 41.9 ตามลำดับ เด็กกินขนม/เครื่องดื่มระหว่างมื้อ ร้อยละ 79.6  ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าเด็กที่ไม่แปรงฟันก่อนนอนทุกวัน และไม่แปรงฟันหลังอาหารกลางวัน มีฟันผุมากกว่าเด็กที่แปรงฟันก่อนนอนทุกวันและแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001และp<.001ตามลำดับ) และเด็กที่ไม่แปรงฟันก่อนนอนทุกวัน และไม่แปรงฟันหลังอาหารกลางวัน มีเหงือกอักเสบ มากกว่าเด็กที่แปรงฟันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001 และ p<.001ตามลำดับ)  เด็กที่ไม่ดื่มน้ำอัดลม 4-7 วันต่อสัปดาห์ มีฟันผุมากกว่าเด็กที่ดื่ม 4-7 วันต่อสัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างเด็กที่ดื่มน้ำอัดลม 4-7 วันต่อสัปดาห์ กับการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันและก่อนนอนทุกวันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.001; P= 0.001 )  ส่วนการกินลูกอม หมากฝรั่ง เยลลี่ พบว่ามีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ โดยเด็กที่กินลูกอม หมากฝรั่ง เยลลี่ จำนวนมากจะมีฟันผุ และเหงือกอักเสบมากกว่าเด็กที่กินจำนวนน้อยกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001และp=.001ตามลำดับ)  เด็กที่ดื่มน้ำอัดลม 4-7 วันต่อสัปดาห์ และดื่มน้ำหวาน 4-7 วันต่อสัปดาห์ มีเหงือกอักเสบมากกว่าเด็กที่ไม่ดื่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001และ p<.001ตามลำดับ) ด้านการรับบริการ พบว่าเด็กที่ได้รับบริการทันตสุขภาพมีฟันผุ มากกว่าเด็กที่ไม่ได้รับบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)

References

1. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพและปัจจัยเสี่ยง (เพื่อการเฝ้าระวัง) พ.ศ.2558. พิมพ์ครั้งที่1. ปทุมธานี:โรงพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัดนโมพลัส; 2558.

2. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่7 ประเทศไทย พ.ศ. 2555. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.

3. กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. รายงานการสำรวจสภาวะช่องปากตามกลุ่มอายุปี 2555.[ไม่ได้ตีพิมพ์]. สุรินทร์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์; 2555.

4. กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. รายงานการสำรวจสภาวะช่องปากตามกลุ่มอายุปี 2556.[ไม่ได้ตีพิมพ์]. สุรินทร์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์; 2556.

5. กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. รายงานการสำรวจสภาวะช่องปากตามกลุ่มอายุปี 2557.[ไม่ได้ตีพิมพ์]. สุรินทร์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์; 2557.

6. ธิดารัตน์ ตั้งกิจติเกษม, วัชรพงษ์ หอมวุฒิวงค์ .สภาวะช่องปากและพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียน กลุ่มอายุ 12 ปี ในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดหนองคาย ประจำปี 2553. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2555; 17(2):9-22.

7. สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา. ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์. การใช้ฟลูออไรด์ในชุมชน [ออนไลน์] 2559 [อ้าง เมื่อ 12 มิถุนายน 2559] จาก http://dental.anamai.moph.go.th/elderly/happysmile/media/comf/thai.html

8. Walsh T, Worthington HV, Glenny AM, Appelbe P, Marnho VC, Shi X. Fluoride toothpastes of different concentrations for preventing dental caries in children and adolescents: Cochrane database Syst Rev. 2010 Jan 20;(1):CD007868. doi: 10.1002/14651858.CD007868.pub2.

9. ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล. แผนงานวิจัยนโยบายและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ. ร้ายกว่าที่คิดแจกลูกอมวันเด็ก [ออนไลน์]2556 [อ้าง เมื่อ 12 มิถุนายน 2559] จาก http://www.fhpprogram.org/news-preview/6

10. Anderson CA, Cruzon MEJ, Van Loveren C, Tatsi C, Duggl MS. Sucrose and dental caries: A review of the evidence. Obes Rev. 2009 Mar; 10 Suppl 1: 41-54. doi: 10.1111/j.1467-789X.2008.00564.x.

11. ภัทริน สงคราม, จิราพัชร์ กฤษดำ, ปิ่นนเรศ กาศอุดม. ความสัมพันธ์ระหว่างการมีลูกอม ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลมที่บ้าน ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากนักเรียนของผู้ปกครองกับโรคฟันแท้ผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ถึง3 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลเขาคิชกูฎ จังหวัดจันทบุรี. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2558; 20(3):36-43.

12. ภาควิชาปริทันต์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สาเหตุของการเกิดโรคปริทันต์. [ออนไลน์] 2559 [อ้าง เมื่อ 12 มิถุนายน 2559] จาก http://www.perio.dent.chula.ac.th/perio4.htm

13 ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล. การควบคุมคราบจุลินทรีย์โดยวิธีกล. ใน: ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล, บรรณาธิการ.ทันตกรรมป้องกันในเด็กและในวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: บริษัทเบสท์ บุ๊คส์ ออนไลน์ จำกัด;2554:หน้า 147-71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-10-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)