การเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและสภาวะช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนที่มารับบริการคลินิกทันตกรรมเด็กดี อย่างต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่องโรงพยาบาลหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • สุปรียา เครือสาร สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • พรทิพย์ กีระพงษ์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • Nittaya Pensirinapa สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ความต่อเนื่องการมารับบริการ, คลินิกทันตกรรมเด็กดี, การดูแลทันตสุขภาพ, เด็กก่อนวัยเรียน

บทคัดย่อ

              การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ(1)เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากให้เด็กในเรื่องการทำความสะอาดในช่องปาก การเลือกอาหารว่าง การบริโภคนมและพฤติกรรมการมารับบริการทันตกรรม (2)เปรียบเทียบสภาวะการเกิดฟันผุและการมีคราบจุลินทรีย์ของเด็กก่อนวัยเรียนที่เข้ารับบริการอย่างต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่อง ในคลินิกทันตกรรมเด็กดีโรงพยาบาลหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ประชากรที่ศึกษาคือ เด็กอายุ 3.5-4 ปีที่มารับบริการครั้งแรกในคลินิกทันตกรรมเด็กดี ขณะที่มีอายุ 9 เดือนในเดือนมกราคม-ตุลาคม 2556  จำนวน  327 คนทำการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 203 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบตรวจสภาพฟันผุโดยใช้เกณฑ์ฟันผุรายซี่   แบบตรวจความสะอาดของฟัน และแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากให้เด็กที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.821  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการทดสอบค่าทีของกลุ่มตัวอย่าง2กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ปกครองในกลุ่มเด็กที่มารับบริการทันตกรรมอย่างต่อเนื่อง(1)มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมด้านการทำความสะอาดช่องปากและตรวจสภาวะช่องปากให้เด็ก ในปกครอง การเลือกอาหารว่างให้เด็ก การบริโภคนมของเด็กและการพาเด็กมารับบริการทันตกรรม สูงกว่าในกลุ่มที่มารับบริการไม่ต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) เด็กก่อนวัยเรียนที่มาเข้ารับบริการทันตกรรมอย่างต่อเนื่องจะมีสภาวะการเกิดฟันผุและการมีคราบจุลินทรีย์น้อยกว่ากลุ่มที่มาเข้ารับบริการทันตกรรมไม่ต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 

References

1.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ และปิยะดา ประเสริฐสม.โรคฟันผุในฟันน้ำนม.วิทยาสารทันตสาธารณสุข.2549;12(2):72-29.

2. ลักขณา อุ้ยจิรากุล,สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา,จันทนา อึ้งชูศักดิ์,มุขดา ศิริเทพทวี.ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเลี้ยงดูและโรคฟันผุในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดสระแก้ว วิทยาสารทันตสาธารณสุข2556;2;23-9 .

3.พัชรี เรืองงาม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอขาณุขวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร.วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2556; 32(2) :10-18.

4. งานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดเพชรบูรณ์.รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับจังหวัด.เพชรบูรณ์ :สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์;2556.

5. กนกจันทร์ เขม้นการ. ความคิดความรู้สึกของเด็กเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล:การจัดการทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2554; 8(3): 75-87.

6. Slifer,Keith J. A clinician’s guide to helping children cope and cooperate with medical care.United state of America:Johns Hopkins University Press;2013.

7. International Caries Detection and Assessment System Coordinating Committee:Rationate and Evidence for the International Cries Detection and Assessment System[internet] [cited2011Sep 26].Available from: http:// www.icdas.org/…/Rationale% 20.

8.Best, John W. Research in Education.3dn ed. Enflewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall,Inc.;1997.

9. กันทิมา เหมพรหมราช. พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครองในเขตนครชัยบุรินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.2557;22(3):58-68.

10. กรัณฑชา สุธาวา.ประเมินผลการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคฟันผุในคลินิกเด็กดี อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย พ.ศ.2553-2556.วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2558;39(1): 43-46.

11. นฤชิต ทองรุ่งเรืองชัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันให้เด็กอายุ 1-5 ปีของผู้ปกครองในเขตอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู.ศรีนครินทร์เวชสาร2556;28(1): 16-22.

12. มาลี วันทนาศิริ. การประเมินผลการปรับพฤติกรรมบริโภคที่มีผลต่อโรคฟันผุของเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลลำไทร อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี.วิทยาสารทันตสาธารณสุข2551; 13(2):7-19.

13. วสันต์ สายเสวีกุล และดาวรุ่ง แสงสว่าง. ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กที่มีผลต่อการเกิดฟันผุของเด็กอายุ 3 ปี จังหวัดชลบุรี.วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2551; 33(1):29-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-10-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)