แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, คุณลักษณะส่วนบุคคล, การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจ ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนครเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ดจำนวน 78 คน และใช้การสนทนากลุ่ม จำนวน 12คนตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช0.96และนำแต่ละข้อคำถามมาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง พบว่าทุกข้อมีค่ามากกว่า 0.50 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 17เมษายน2560ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม2560สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา เช่น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
จากการศึกษา พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 79.5อายุเฉลี่ย 29.9 ปี (S.D. = 6.9ปี) สถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 67.9การศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 62.8รายได้ 10,000 – 20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 74.4 ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน 1 – 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 50.0การปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.85 (S.D.= 0.56 ) ภาพรวมแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.92 (S.D.= 0.29)คุณลักษณะส่วนบุคคลด้านระยะเวลาในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร ส่วนแรงจูงใจมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(r=0.556,p-value <0.001) โดย ปัจจัยด้านความสำเร็จในหน้าที่การงาน ด้านการได้รับความยอมรับนับถือและคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษา(ปริญญาตรีขึ้นไป) สามารถพยากรณ์การการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 37.8(R2 =0.378, p-value<0.001)
References
2.สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. ผลการสำรวจสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2555. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.
3.สำนักงานโครงการสนับสนุนนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กระทรวงสาธารณสุข. ความเป็นมาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล.[ออนไลน์]2552 [อ้างเมื่อเมื่อ 9 สิงหาคม พ.ศ.2559, จาก https://hph.moph.go.th/?modules=Content&action=history].
4.Schermerhorn, R., Hunt, G., and Osborn, N. Organization Behavior. New York: John Wily & Sons; 2003.
5.Hertzberg, F., Mausner, B. &Synderman, B.B. The motivate to work. New Brunwisk, NJ : Transaction Pub; 2010.
6.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร.รายชื่อและจำนวนเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในจังหวัดสกลนคร. สกลนคร.(เอกสารอัดสำเนา); 2559.
7.อุไรวรรณ อมรไชย. การบริหารจัดการและร่วมผลิตทันตาภิบาลจากท้องถิ่นโดยเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ชุมชน และวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร : กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2550; 10(2): 130-140.
8.สุณี วงศ์คงคาเทพ และคณะ. แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุขสำหรับทันตบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลและศูนย์สุขภาพชุมชน. นนทบุรี : กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย; 2552.
9.สิทธิศักดิ์ แก้วโพนเพ็ก และประจักร บัวผัน. คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของนักบริหารงานสาธารณสุขในเทศบาล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2558; 15(4): 75-87.
10.ชลลดา อาทิตย์ตั้งและสุวิทย์ อุดมพานิชย์. แรงจูงใจที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารทันตาภิบาล 2559; 28(1): 23-34.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล