สถานการณ์นโยบายไม่กินหวานในโรงเรียน ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
โรงเรียน, น้ำอัดลม, น้ำหวาน, ขนมกรุบกรอบบทคัดย่อ
น้ำอัดลม น้ำหวาน และขนมกรุบกรอบ เป็นที่รู้กันว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคฟันผุและโรคอ้วน ในปี พ.ศ. 2558 ผลการสำรวจในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า มีเพียงร้อยละ 29.5 ของโรงเรียนเท่านั้นที่มีนโยบายห้ามขายสินค้าเหล่านี้ให้กับนักเรียน การศึกษาวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-section study) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามสถานการณ์ในปี 2559 หลังจากดำเนินโครงการไปแล้ว 1 ปี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ โรงเรียน 82 แห่ง ในอำเภอลำปลายมาศแบ่งเป็นโรงเรียนประถมศึกษา 76 แห่ง และโรงเรียนมัธยมศึกษา 6 แห่ง เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 -31 กรกฎาคม 2559 จากผลการศึกษาพบว่าโรงเรียนส่วนใหญ่มีโรงอาหาร และมีการเตรียมปรุงอาหารเอง สูงถึงร้อยละ 96.3 โรงอาหารได้มาตรฐานกรมอนามัย เพียงร้อยละ 57.3 น้ำดื่มในโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นน้ำฝนคิดเป็นร้อยละ 30.5 และ น้ำประปา คิดเป็นร้อยละ 26.8 ส่วนมากผ่านเครื่องกรอง คิดเป็นร้อยละ 85.4 เมื่อมองไปที่นโยบายไม่กินหวานพบว่า โรงเรียนที่ดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม ควบคุมน้ำหวาน และขนมกรุบกรอบโดยดำเนินการแล้วทั้ง 3 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 50.0 ดำเนินการบางเรื่อง คิดเป็นร้อยละ 31.7 และที่ยังไม่ได้ดำเนินการเลย คิดเป็นร้อยละ 18.3 ดำเนินการแต่ละเรื่อง พบว่าโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม คิดเป็นร้อยละ 85.4 ปลอดลูกอม คิดเป็นร้อยละ 80.5 ปลอดขนมกรุบกรอบ คิดเป็นร้อยละ 54.9 และ ปลอดน้ำหวาน คิดเป็นร้อยละ 51.2 สรุปและ ข้อเสนอแนะ จากการประเมินนโยบายพบว่า มีการขับเคลื่อน นโยบายไม่กินหวานในโรงเรียนเพิ่มขึ้นซึ่งต้องดำเนินการให้เข้มแข็ง ข้อเสนอแนะควรมีการติดตามประเมินผลกระทบเกี่ยวกับสุขภาพได้แก่ โรคอ้วนและ โรคฟันผุต่อไป
References
2. Caglaroglu M, Kilic N, Erdem A. Effects of early unilateral first molar extraction on skeletal asymmetry. Am J OrthodDentofacialOrthop 2008;134:270-5.
3. Melsen B, Terp S. The influence of extractions caries cause on the development of malocclusion and need for orthodontic treatment. Swed Dent J Suppl 1982;15:163-9.
4. Richardson A. Spontaneous changes in the incisor relationship following extraction of lower first permanent molars. Br J Orthod 1979;6:85-90.
5. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2555. โรงพิมพ์สำนักกิจการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2556.
6. สุนทร ระพิสุวรรณ, ภฑิตา ภูริเดช, ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล,เทวฤทธิ์ สมโคตร,พลินี เดชสมบูรณ์รัตน์. ความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตและความชุกของโรคฟันผุของเด็กในชุมชนแออัด.วารสารประชากรศาสตร์ 2545; 18(2):27-36.
7. Millward A, Shaw L, Smith AJ, Rippin JW, Harrington E. The distribution and severity of tooth wear and the relationship between erosion and dietary constituents in a group of children. Int J Paediatr Dent. 1944, 4:151-157.
8. National Statistical Office. The 2009 survey on health and welfare. Bangkok: National Statistical Office, Ministry of Information and Communication Technology; 2010. (in Thai).
9. เพ็ญแข ลาภยิ่ง. การสร้างเสริมสุขภาพ: แนวคิด หลักการ และยุทธศาสตร์. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ/ สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย, 2552. Cyber Rock Agency Group Co.,Ltd.
10. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. แผนยุทธศาสตร์สุขภาพช่องปากประเทศไทย พ.ศ. 2555-2559. โรงพิมพ์สำนักกิจการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2556.
11. กลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลลำปลายมาศ. รายงานสถานการณ์โรงเรียนปลอดน้ำอัดลม ควบคุมน้ำหวาน และขนมกรุบกรอบ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2558.
12. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. คู่มือคำอธิบายตัวชี้วัดการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพ สำหรับการควบคุมกำกับติดตามและการประเมินผลการดำเนินงาน ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปีงบประมาณ 2559.
13. เริงสิทธิ์ นามวิชัยศิริกุล. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยชุมชนมีส่วนร่วม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสุขภาพจิตชุมชนแห่งประเทศไทย.2558; 2(2): 32-42.
14. เริงสิทธิ์ นามวิชัยศิริกุล. การพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยอ่อนหวานเด็กไทยฟันดี อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2559; 10(23): 20-35.
15. เริงสิทธิ์ นามวิชัยศิริกุล. การพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนปลอดน้ำอัดลมสู่ตำบลดื่มน้ำเปล่า ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2553-2558. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. 2560; 39(1): 13-24.
16. World Health Organization. Ottawa Charter for Health Promotion.In:An International Conference on Health Promotion. The move toward a new public health ; Ottawa , Canada : WHO , 1986.
17. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. ข้อเสนอเชิงนโยบายและกลยุทธ์การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยกลุ่มอายุต่างๆในทศวรรษหน้า. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด. 2549.
18. ผุสดี จันทร์บาง,ปิยะดา ประเสริฐสม,ปราณี เหลืองวรา. โครงการพหุภาคีเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมการบริโภคอ่อนหวานเด็กนัดเรียน. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2555; 17(2): 31-44.
19. สุขจิตตรา วนาภิรักษ์. การพัฒนานโยบายโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม ลูกอม ขนมกรุบกรอบ ในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดแพร่. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2551; 13(2): 20-32.
20. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 6 ประเทศไทย พ.ศ. 2549-2550. โรงพิมพ์สำนักกิจการองค์การทหารผ่านศึก. 2551.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล