ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปาก, ปัจจัย, นักเรียนประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปาก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 352 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบ่งเป็น 6 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากของนักเรียนทัศนคติต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก การรับรู้ความสามารถของตนเองในพฤติกรรมทันตสุขภาพ ตัวแบบด้านทันตสุขภาพจากผู้ปกครอง และอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมที่นักเรียนส่วนใหญ่ปฏิบัติเป็นประจำ ได้แก่ นักเรียนทำความสะอาดฟันด้วยวิธีการแปรงฟันทุกวัน นักเรียนแปรงฟันหลังตื่นนอนตอนเช้า นักเรียนใช้แปรงสีฟันที่มีขนาดพอเหมาะกับปาก นักเรียนจะเปลี่ยนแปรงสีฟันใหม่เมื่อขนแปรงบาน ร้อยละ 77.84, 78.41, 76.42 และ 60.80 ตามลำดับ 2) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเองในพฤติกรรมดูแลทันตสุขภาพ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ตัวแบบด้านทันตสุขภาพจากผู้ปกครอง อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากอย่างมีระดับนัยสำคัญที่ 0.01 ดังนั้นการที่จะพัฒนาพฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากของนักเรียน ควรส่งเสริมทันตสุขภาพทั้งตัวนักเรียน กลุ่มเพื่อน และผู้ปกครอง
References
2. Pender, N.J., Murdaugh, C.L. & Parsons, M.A. Health Promotion in Nursing Practice. 5th (ed). New Jersey: Pearson Education, Inc;2006.
3. วรเมธ สุขพาสันติ, มานพ คณะโต และพูนรัตน์ ลียติกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียนของเด็กนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายในจังหวัดหนองบัวลำภู. ศรีนครินทร์เวชสาร2559; 31(2):169-177.
4. นิตยา เจริญกุล. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพของผู้ใช้บริการทันตกรรม : กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ. [วิทยานิพนธ์]กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2556.
5. Schwartz, N. E. Nutritional knowledge, attitude and practice of high school graduated. Journal of The American Dietetic Association1975; 66: 28-31.
6. ธัญนิดา เจริญจันทร์และทิพย์วัลย์ สุรินยา.ความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้ความสามารถของตนเองรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสตรีนนทบุรีจังหวัดนนทบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2557; 40(1): 69-84.
7. Bandura, A. Self efficacy: Toward a unifying theory of behavior change. Psychological Review 1977;84:191-215.
8. ปิติฤกษ์ อรอินทร์. การศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ [วิทยานิพนธ์]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2557.
9. สดุดี ภูห้องไสย. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล