ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประถมศึกษาอำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
โปรแกรมทันตสุขศึกษา, ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การป้องกันโรคเหงือกอักเสบบทคัดย่อ
โรคเหงือกอักเสบเป็นโรคสำคัญด้านทันตสาธารณสุข ถึงแม้ว่าโรคเหงือกอักเสบจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่นำไปสู่โรคปริทันต์ที่รุนแร และทำให้สูญเสียฟันตามมา นอกจากนี้ ยังบั่นทอนสุขภาพ ดังนั้นจึงควรปลูกฝังพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคเหงือกอักเสบในเด็กวัยเรียนเพื่อให้มีสุขภาพช่องปากดีต่อไป การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฏีการเรียนรู้ของบลูม และการสนับสนุนทางสังคม เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 60 คน แบ่งกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน เวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษา ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การจัดมุมความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพ “ ฟ.ฟันในชั้นเรียน” บรรยายประกอบสื่อ การนำเสนอตัวแบบ การอภิปรายกลุ่ม การสาธิต และการฝึกปฏิบัติ การการสนับสนุนทางสังคม จาก ผู้วิจัย ผู้ปกครอง ครู แลละเพื่อน ได้แก่ การกระตุ้นเตือน การให้คำแนะนำ การให้คำปรึกษา ให้รางวัล การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึกการตรวจสุขภาพช่องปาก การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ต่ำสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบ ด้วยสถิติ Paired Sample t-test และ Independent t-test และ 95% Confident Interval ที่ระดับนัยสำคัญเท่ากับ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า หลังทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคเหงือกอักเสบ ทัศนคติและการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ มากกว่าก่อนการทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ช่องปากและฟันมีปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์น้อยกว่าก่อนการทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)
References
2. กลุ่มงานทันตกรรม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น.รายงานผลการดำเนินงานเฝ้าระวังทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตำบลเมืองเก่าพัฒนา อำเภอเวียงเก่า ในปี พ.ศ. 2556 – 2558.จังหวัดขอนแก่น;2559.
3. Bloom, B.S. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill;1971.
4. House, J.S. The Association of Social Relationship and activities with mortality: Community health study. American Journal Epidemiology 1981;3(7):25-30.
5. อรสิรินทร์ เพิ่มพัชรพรแลและ วีรพล แสงปัญญา.การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการคิดตามสารบบจำแนกของบลูมฉบับปรับปรุงที่มีต่อผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(2):394-408.
6.อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติที่ใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.
7. Quigley G., & Hein J.W. Comparative Cleansing Efficacy of Manual and Power Brushing. Journal of American Dentistry Association 1962;1(2):101-105.
8. รวิษฎา ทับทิมใสและรุจิรา ดวงสงค์. ประสิทธิผลโปรแกรมสุขศึกษาในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนที่เป็นโรคเหงือกอักเสบ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น, 17(2):77-78.
9. ปิยะลักษณ์ เดือนกองและพรรณี บัญชรหัตถกิจ.ผลของโปรแกรมการส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารทันตาภิบาล 2556;24(1):54-66.
10. วีรยุทธ พลท้าวและ พรรณี บัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาร่วมกับการใช้สื่อประสมช่วยประสมช่วยสอนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบในนักเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารทันตาภิบาล, 2557;25(2):75-88.
11. อรพินท์ วันศิริสุข และอารีรัตน์ บุญยัง. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนเรศวร;2551.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล