ปัญหาความก้าวหน้าและการประกอบวิชาชีพของทันตาภิบาล
คำสำคัญ:
ทันตาภิบาล, ความก้าวหน้า, การประกอบอาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัญหาความก้าวหน้าในการทำงานของทันตาภิบาล (2) ปัญหาการประกอบวิชาชีพของทันตาภิบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นทันตาภิบาลที่ปฏิบัติงานในเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 10 ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ 1) อำนาจเจริญ 2) อุบลราชธานี 3) ศรีสะเกษ 4) ยโสธร 5) มุกดาหาร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีความตรงตามเนื้อหาและความเชื่อมั่น ในระหว่างเดือนมีนาคม 2560 ถึง พฤษภาคม 2560 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
จากการศึกษาปัญหาความก้าวหน้าและการประกอบอาชีพของทันตาภิบาล พบว่าทันตาภิบาลที่ตอบแบบสอบถามแสดงให้เห็นว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 85.2 มีอายุเฉลี่ย 29 ปี การศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 44.2 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 8,920 บาท ทันตาภิบาลที่ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ร้อยละ 22.0 เป็นการศึกษาต่อที่เกี่ยวข้องกับทันตสาธารณสุขร้อยละ 3.6 จุดมุ่งหมายที่สำคัญเพื่อเพิ่มคุณวุฒิ ร้อยละ 39.7 การปรับเปลี่ยนตำแหน่งในการปฏิบัติงานร้อยละ 3.7 ทันตาภิบาลที่ไม่เคยย้ายสถานที่ปฏิบัติงานร้อยละ 68 สาเหตุในการย้ายสถานที่ปฏิบัติงานเพื่อลดระยะทางในการเดินทางมาทำงานร้อยละ 31.4 มีโอกาสในการเลื่อนขั้นสู่ระดับสูงขึ้น ร้อยละ 77.0 อีกทั้งยังได้รับเงินเดือนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับภาระงาน ร้อยละ 65.3การสำรวจการปฏิบัติงานของทันตาภิบาล พบว่า ทันตาภิบาลให้บริการทันตกรรมปฏิบัติงานเกินความรู้ความสามารถที่เรียนมา ร้อยละ 73.5 นำไปสู่การลาออกหรือเปลี่ยนสายงานเนื่องจากความคับข้องใจในประกอบวิชาชีพ ร้อยละ 72.8
References
2. ศศิธร ไชยประสิทธิ์, ชัยพฤกษ์ ตั้งจิตคงพิทยา. บทบาทหน้าที่ของทันตาภิบาลที่ปฎิบัติงานจริงในโรงพยาบาลชุมชน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชน 4 แห่งในจังหวัดลำปาง;.เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 2558 ;36(2):145-158.
3. เฉลิมศรี เหมาะหมาย และสงครามชัย ลีทองดี. สภาพปัญหาและการคงอยู่ปฏิบัติงานของทันตาภิบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล กรณีศึกษาเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 9. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 9;2557:311-318.
4. Yamane, Taro. Statistics: An Introductory Analysis.third edition. New York: Harper and Row Publication; 1973.
5. Elo, S., &Kyngas. The qualitative content analysis process. Journal of Advanced Nursing;62(1):107-115.
6. นันทิยา เสถียรวุฒิวงศ์. ความคิดเห็นต่อสมรรถนะหลักของทันตาภิบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กรณีศึกษาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.
7. อรุณรัตน์ ศกุนะสิงห์. ปัจจัยสุขภาพจิตและปัจจัยจูงใจที่สัมพันธ์กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของทันตาภิบาล. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2541.
8. จิลาวัณย์ ชื่นรุ่งโรจน์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ในสถานบริการสาธารณสุข เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขที่ 17.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช;2556.
9. สุรีย์พร โพธิ์ศรีทอง. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทางานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของศูนย์อนามัยที่ 3.วารสารทันตสาธารณสุข 2553;15(2). 47-64.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล