บทบาทหน้าที่และความก้าวหน้าของทันตาภิบาล กรณีศึกษาที่ปฏิบัติงานในเขตสุขภาพที่ 7
คำสำคัญ:
ความก้าวหน้า, บทบาทหน้าที่, ทันตาภิบาลบทคัดย่อ
การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ และ ความก้าวหน้าของทันตาภิบาล ที่ปฏิบัติงานในเขตสุขภาพที่ 7 ศึกษาจากตัวอย่างทั้งหมด 222 คน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 180 คน คิดเป็นร้อยละ 81.1 มีอายุตั้งแต่ 23 ถึง 56 ปี มีอายุเฉลี่ย 32.97 ปี
บทบาทการทำงานด้านทันตสาธารณสุขของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข พบว่า หมวดการจัดบริการทันตกรรมพื้นฐาน เพื่อการควบคุมและป้องกันโรคในช่องปากเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนและไม่มีโรคทางระบบตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขปี 2539 หัวข้อที่มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติมากที่สุดคือ งานทันตศัลยกรรม ประกอบด้วยการถอนฟันน้ำนมที่ขึ้นปกติ และการถอนฟันแท้กรณีโยกคลอน ระดับ 3 (โยกเกิน 3 ม.ม.) โดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ด้วยวิธี Local infiltration ค่าเฉลี่ย 4.66 (sd. = 0.65)
ความก้าวหน้าและความต้องการในการพัฒนาตนเองในการศึกษาต่อ พบว่า ความก้าวหน้าและความต้องการในการพัฒนาตนเองข้อที่มีระดับความพึงพอใจต่ำที่สุดคือเส้นทางความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของท่านมีความชัดเจน มีค่าเฉลี่ย 2.40 (sd. = 1.10)
ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท จำนวน 177 คน คิดเป็นร้อยละ 80.18 ด้านความต้องการการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาตนเอง ส่วนใหญ่ต้องการพัฒนาตนเองด้านการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กเล็ก จำนวน 131 คน คิดเป็นร้อยละ 59.0
References
2. พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ 2550.[ออนไลน์]2550 [อ้างเมื่อ 26 พฤษภาคม 2560] จาก https://www.acfs.go.th/km/download/act_healthy_2550.pdf
3.โกเมศ วิชชาวุธ และคณะ. การคาดประมาณกำลังคนด้านทันตสาธารณสุข ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2551-2560) วิทยาสารทันตสาธารณสุข ปีที่ 14 เล่มที่ 2 เดือน ก.ค.-ธ.ค. พ.ศ. 2552 หน้า 9-24.
4. . ศศิธร ไชยประสิทธิ์ , ชัยพฤกษ์ ตั้งจิตคงพิทยา.บทบาทหน้าที่ของทันตาภิบาลที่ปฏิบัติงานจริงในโรงพยาบาลชุมชน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชน 4 แห่งใน จังหวัดลำปาง. [ออนไลน์]2558 [อ้างเมื่อ 26 พฤษภาคม 2560] จากhttps://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2558_36_2_397.pdf
5.จิลาวัณย์ ชื่นรุ่งโรจน์, ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์, วรางคณา จันทร์คง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ในสถานบริการสาธารณสุข เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขที่ 17 . [ออนไลน์]2556 [อ้างเมื่อ 26 พฤษภาคม 2560] จากhttps://gsbooks.gs.kku.ac.th/56/grc14/files/mmp29.pdf
6.อมราภรณ์ สุพรรณวิวัฒน์, รัตนาภรณ์ มั่นคง.บทบาทของทันตาภิบาลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ต่อผลการปฎิบัติงานตามตัวชี้วัดงานทันตสาธารณสุข ปี 2558. [ออนไลน์]2558 [อ้างเมื่อ 26 พฤษภาคม 2560] จากfile:///C:/Users/Administrator/Downloads/32368-43974-1-SM.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล