การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองกับสภาวะสุขภาพช่องปาก เด็ก 3 – 5 ปี ในอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ณัฐธิดา พันพะสุก รพ.สต.กะฮาด ตำบลกะฮาด อำเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ
  • อัชชาวดี สักกุนัน รพ.สต.วังบอน ตำบลอิปุ่ม อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
  • อรวรรณ นามมนตรี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • รัชนีกร สาวิสิทธิ์ โรงพยาบาลซำสูง จังหวักขอนแก่น

คำสำคัญ:

การรับรู้, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก, สภาวะสุขภาพช่องปาก, ผู้ปกครอง

บทคัดย่อ

                 การรับรู้บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครองและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองน่าจะมีความสำคัญกับสภาวะสุขภาพช่องปากเด็ก การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครอง 2) การรับรู้บทบาทหน้าที่ในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครอง 3) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองและ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครองกับสภาวะสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 3–5 ปี อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองเด็กอายุ 3–5 ปี จำนวน 145 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และแบบสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ  ผ่านการหาความตรงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ใน ช่วง 0.67 -1.00 และ หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบด้านความรู้โดยใช้สูตร KR-20 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 แบบสอบถามการรับรู้ และพฤติกรรมโดยใช้สูตร สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.709 และ 0.712 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้สถิติเชิงอนุมานเพื่อหาความสัมพันธ์ด้วย Chi-Square test  และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน

              ผลการศึกษาพบว่าเด็กอายุ 3–5 ปี มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอน อุด (dmft) เท่ากับ 4.92 ซี่ต่อคน ผู้ปกครองเด็ก 3–5 ปี มีความรู้อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 56.6 การรับรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากรระดับดีมาก ร้อยละ 77.2 พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากระดับปานกลางร้อยละ 54.5 และพบว่าความรู้ด้านการดูแลสุขภาพช่องปากไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครอง (p-value = 0.616) การรับรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครองเด็ก(p-value = 0.002) และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับสภาวะสุขภาพช่องปากเด็ก 3–5 ปี (p-value = 0.013) จากผลการวิจัยควรมีการส่งเสริมให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันการเกิดสภาวะฟันน้ำนมผุในเด็กอายุ 3–5 ปี เน้นบทบาทของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก ให้หันมาใส่ใจและแปรงฟันให้เด็กอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันการเกิดโรคฟันผุในเด็กอายุ 3–5 ปี

References

1. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ผลสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7 พ.ศ.2555. สำนักทันตสาธารณสุข. 2556.

2. Best, J.W. Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prenice- Hall;1977:174.

3. Kawashita, Y., Kitamura, M., & Saito, T. Early childhood caries. Int J Dent 2011; 7(4):344-349.

4. ลักขณา อุ้ยจิรากุล. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเลี้ยงดูและการเกิดโรคฟันผุในเด็กเล็ก ในจังหวัดสระแก้ว. วิทยาสารทันตสาธารณสุข สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข;2556.

5.สุภัทรา สนธิเศวต. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 3-5 ปี อำเภอเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2551.

6.บัณฑิต นิตย์คำหาญ. ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กวัยก่อนเรียนที่คลินิกเด็กดีสถานีอนามัยโนนหวายใต้ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. รายงานวิจัย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น;2546.

7. เกตุวดีเจือจันทร, อิชยา สินไชย, อรวรรณ นามมนตรี, อโนชา ศิลาลัยและหฤทัย สุขเจริญโกศล. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองและสภาวะฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียน อําเภอแก่งคอย จ.สระบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา 2559;22 (1):5-17.

8.เฉลิมวิทย์ หาชื่น. การรับรู้เกี่ยวกับโรคฟันผุและการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์สาขาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2553.

9. พัชรี ศรีชัย. ความรู้เจตคติและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากต่อการป้องกันโรคฟันผุในเด็กอายุ 3-5 ปีเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยดงใหญ่ตำบลดงใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระทางสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม;2545.

10. วัลธินี ปิงแก้ว. สภาวะฟันผุและพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพโดยผู้ปกครองของเด็กอายุ 2 - 6 ปี อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง.วิทยานิพนธ์สาขาสาธารณศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2549.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-09

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)