ปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • นิรุวรรณ เทิรนโบล์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุภาวดี บุดดาหวัง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, อินเทอร์เน็ต, ความสัมพันธ์ในครอบครัว, นักเรียนมัธยม

บทคัดย่อ

              พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจมากในปัจจุบันทั้งด้านบวกและด้านลบ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตมีบทบาทต่อวิถีชีวิตของคนเพิ่มมากขึ้น การศึกษาปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวของนักเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม ศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross sectional Study) ใช้กลุ่มตัวอย่างนักเรียน 230 คน โดยแบบสอบถาม (Conbach’s coefficients 0.89)ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2560วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และหาความสัมพันธ์ด้วย สถิติไควสแควส์สถิติสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ปัจจัยด้วยสถิติการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาปัจจัยด้านข้อมูลทั่วไปพบว่านักเรียนตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 57.8)  อายุระหว่าง 13-14 ปี(ร้อยละ 67.8) ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ร้อยละ 34.8) พักอาศัยอยู่กับบิดาและมารดา (ร้อยละ 70.4) ส่วนใหญ่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ที่บ้าน (ร้อยละ 85.7)  ใช้เวลาว่างส่วนใหญ่ในการเล่นอินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 73.5) ตัวนักเรียนเองมีอิทธิพลในการตัดสินใจใช้อินเทอร์เน็ต(ร้อยละ 73.5)ส่วนใหญ่นักเรียนใช้โทรศัพท์มือถือเล่นอินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 90.0)ใช้งานอินเทอร์เน็ต 3-7 ชั่วโมงต่อวัน (ร้อยละ 37.0) รองลงมาคือใช้อินเทอร์เน็ตเป็นระยะเวลา 8-12 ชั่วโมงต่อวัน (ร้อยละ 21.3) มีคะแนนระดับความรู้ ระดับพฤติกรรม ระดับการปฏิบัติตัว และระดับผลกระทบในการใช้อินเทอร์เน็ตในระดับพอใช้ (ร้อยละ 49.1),(ร้อยละ 63.8), (ร้อยละ 60.9), (ร้อยละ 86.1)ตามลำดับ พบมีความสัมพันธ์กันน้อยไปในทิศทางเดียวกันระหว่างความรู้ พฤติกรรม และการปฏิบัติตัวกับผลกระทบในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value=0.003),(p-value=0.009),(p-value=0.001) ตามลำดับปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวของนักเรียน พบว่า1)การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิง 2) นักเรียนเองมีอิทธิพลในการตัดสินใจใช้อินเทอร์เน็ต 3)การปฏิบัติตัวในการใช้อินเทอร์เน็ต เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวของนักเรียนดังนั้นผู้เกี่ยวข้องควรปลูกผังค่านิยมและการปฏิบัติตัวในเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตที่ถูกต้องและเหมาะสมให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนทราบถึงผลประโยชน์และโทษจากการใช้อินเทอร์เน็ตที่อาจส่งผลต่อสุขภาพและชีวิตประจำวันของนักเรียน

Author Biographies

สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

อาจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต

สุภาวดี บุดดาหวัง, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

นิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต

References

1.ไพสิฐ จิรรัตนโสภา. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ตของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดยะลา. 2554.

2.สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพ.ศ. 2555. ปีที่พิมพ์, 2556.

3.บุหงา ชัยสุวรรณ และพรพรรณ ประจักษ์เนตร. พฤติกรรมการใช้สื่อใหม่ของวัยรุ่นอายุระหว่าง10-19 ปี.วารสารการสื่อสารและการจัดการ. 2559.

4.สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ตารางข้อมูลสถิติจากการสำมะโน/สำรวจ/รายงานสถิติจังหวัด/สำรวจพิเศษ พ.ศ. 2560.ปีที่พิมพ์, 2560.

5.อรุณ จิรวัฒน์กุล.ชีวสถิติ.2553.

6.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. องค์การและการจัดการ.กรุงเทพมหานคร : บริษัทวิสิทธิ์พัฒนาจำกัด. 2541.

7.จิราพร ชมพิกุล และคณะ. สัมพันธภาพในครอบครัวไทย.สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียนมหาวิทยาลัยมหิดล. ห้างหุ้นส่วนจำกัดแท่นทองชินวัฒน์การพิมพ์. 2552.

8.นิภาวัลย์ สมบัติมี. ความสัมพันธ์ของปัจจัยความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับผลกระทบของอินเทอร์เน็ตต่อสุขภาพ ของนิสิตกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.2557.

9.สมชาย วรกิจเกษมสกุล.ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2553.
10.Thongkambunjong, W., ChooChom, O., Intasuwan, P., &Supparerkchaisakul, N. (2011). Causal factors and effect of internet dependency behavior of high school students in Bangkok Metropolis. Journal of Behavioral Science Vol, 17(2).

11. Kim, J., LaRose, R., &Peng, W. (2009). Loneliness as the cause and the effect of problematic Internet use: The relationship between Internet use and psychological well-being. CyberPsychology&Behavior, 12(4), 451-455.

12. Niruwan Turnbull. (2018), Karl Peltzer, SupaPengpid, Wah Yun Low, Thang Nguyen Huu, Erna Rochmawati, HlaHla Win9. (2018) Pathological Internet Use and Psychosocial Risk Factors among ASEAN University Students. Iranian Journal of Psychiatry and Behavioral Sciences, Vol.12, Issuse 4.

13. Nowland, R., Necka, E. A., &Cacioppo, J. T. (2017). Loneliness and Social Internet Use: Pathways to Reconnection in a Digital World?. Perspectives on Psychological Science, 1745691617713052.

14. ฐิติภัทรประสิทธิ์พร. กินกอดกล่อมเกลาและห้องสมุดบ้าน. [ออนไลน]์ . (เข้าถึงได้เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2560). เข้าถึงได้จากhttps://gotoknow.org/blog/thitipa-prasitporn.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-10

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)