การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
โภชนาการ, การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน, การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research : CAR) โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เป็น 3 ระยะ(7 ขั้นตอน) คือระยะที่1 เปิดโจทย์ปัญหา(ประกอบด้วย 1)ทำความเข้าใจศัพท์/ แนวคิดให้ตรงกัน 2) ระบุปัญหา3) วิเคราะห์สาเหตุปัญหาจัดลำดับความสำคัญ4) ตั้งสมมติฐาน และลำดับความสำคัญ5) ตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา) ระยะที่2ศึกษาหาความรู้( 6) ศึกษาหาความรู้ตามวัตถุประสงค์ ) และ ระยะที่3ปิดโจทย์ปัญหา( 7) สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้พิสูจน์สมมติฐาน และสรุปหลักการนำไปใช้ในอนาคต)วัตถุประสงค์การวิจัย1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาโภชนาการ(นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน รุ่น3 ปีการศึกษา 2557) และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาเมื่อผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL) ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ได้ค่าอยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 และ ความเที่ยงของแบบสอบถาม โดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้เท่ากับ 0.83วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การแจกแจงความถี่, ร้อยละ , ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, สถิติทดสอบที และข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้รายวิชาโภชนาการเท่ากับ 78.92 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 3.90) คะแนนเฉลี่ยรายวิชาโภชนาการของกลุ่มที่มีการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (รุ่นที่3 ปีการศึกษา 2557) มากกว่ากลุ่มที่มีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (รุ่นที่2 ปีการศึกษา 2556) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p value<0.001) โดยกลุ่มที่มีการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีคะแนนโดยเฉลี่ยมากกว่า 5.28 คะแนน (95%ช่วงเชื่อมั่นของความแตกต่างค่าเฉลี่ย อยู่ระหว่าง 3.59 ถึง 6.97 คะแนน)
ความคิดเห็นของอาจารย์ประจำกลุ่มและของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL) ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก( =3.72 , SD=0.81 และ =3.85 , SD=0.80 ตามลำดับ) ส่วนความคิดเห็นของอาจารย์ประจำกลุ่มต่อการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในกระบวนการกลุ่มและพฤติกรรมผู้เรียน อยู่ในระดับมาก ( =4.30 , SD=0.73 และ =4.27 , SD=0.71 ตามลำดับ) และการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำงานเป็นทีม และกล้าแสดงความคิดเห็น ส่วนมุมมองนักศึกษา เห็นว่า ทำให้มีการทำงานเป็นทีม มีความสามัคคีและความเป็นประชาธิปไตย ได้ฝึกทักษะการสื่อสาร การแก้ปัญหา การหาข้อสรุปเมื่อมีข้อขัดแย้ง รับผิดชอบตนเองมากขึ้นและมีการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ทำให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้ได้อย่างเข้าใจ และทำให้จำเนื้อหาได้มากขึ้น
References
2. วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: บริษัท ตถาตาพับลิเคชั่น จำกัด, 2555.
3. ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์. การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในระดับอุดมศึกษา :กรณีศึกษาการเรียนการสอนสาขาวิชาสังคมศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดีจำกัด, 2544.
4. ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์ และ ยุพาวรรณ ศรีสวัสดิ์.การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : วิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก(Student Center : Problem- Based Learning). วารสาร มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. ปีที่ 3 ฉบับที่ 1.หน้าที่ 104-112. มกราคม – เมษายน 2554.
5. กนกวรรณ ศรีนรจันทร์.การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษา ส 22101 หน่วยการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2555.
6. McMaster University.8th International Interdisciplinary Summer Institute : Health Science Education. Global Health Office ,Faculty of Health Science McMaster University, 2014.
7. Walsh, A. The tutor in Problem based Learning - A Novice’s Guide. Hamilton. ,ON Program for Faculty Department, McMaster University, Faculty of Health Sciences ;Canada., 2005.
8. วัลลี สัตยาศัย. การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักรูปแบบการเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง.กรุงเทพฯ : บริษัท บุ๊คเน็ท จำกัด, 2547.
9. สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์. คู่มือวิจัยสาธารณสุขระดับอำเภอ. ขอนแก่น; หจก. ขอนแก่นการพิมพ์, 2542.
10. Candela, L. L.Problem Based Learning versus Lecture : Effects on Multiple Choice Test Scores in Associate Degree Nursing Student . Doctor of Education , Faculty of the school of Education , University of Southern California; 1998.
11. Zhang, W. Problem Based Learning in Nursing Education .Hindawi Publishing Corporation Advances in Nursing 2014, Article ID 125707 :1-5 [cited 2017 Nov 20]. Available from:.https://www.hindawi.com/journals/anurs/2014/125707/
12. บุญนา อินทนนท์. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโยธินบารุงที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการมัธยมศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2551.
13. วิภาดา สันติประสิทธิ์กุล กาญจนี สิทธิวงศ์ และ อรทัย ผลเนืองมา. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยกระบวนการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่1. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2555; 24 (2):104 – 116.
14. ณัฐภาส ถาวรวงษ์. การประเมินการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) ของรายวิชาพรีคลินิกหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2551.
15. จิราภรณ์แม็คกลาเดอร์รี่. การใช้การเรียนรู้ที่เน้นปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการสอนภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล