องค์ประกอบของความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุจังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพ, การเข้าถึงข้อมูล, ทักษะการจัดการตนเองบทคัดย่อ
ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ทางสุขภาพ ดังนั้น การพัฒนาองค์ประกอบของความรอบรู้ด้านสุขภาพจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของผลลัพธ์ทางสุขภาพด้านบวกโดยเฉพาะการดูแลสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตในบั้นปลายของชีวิต การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุจังหวัดขอนแก่น จำนวน 300คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล(ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.601)
ผลการวิจัยชี้ว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ยที่ 71.4ปี ± 7.04เป็นเพศหญิงร้อยละ71สถานภาพสมรสร้อยละ 59.67อาศัยกับคู่สมรส, คนในครอบครัวและญาติ รวมร้อยละ 78.67การศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 94.67คะแนนการประเมินสุขภาพตนเองอยู่ที่คะแนน 7.29 ± 1.98ผลการศึกษาความสัมพันธ์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05พบว่าความรู้ความเข้าใจมีความสัมพันธ์กับตัวแปรการพักอาศัย(p-valve .007) ทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการมีความสัมพันธ์กับตัวแปรระดับการศึกษา(p-valve .013)และสถานภาพสมรส (p-valve .009)ทักษะการจัดการตนเองมีความสัมพันธ์กับตัวแปรอายุ(p-valve .001)และการพักอาศัย(p-valve .009) ทักษะการรู้เท่าทันสื่อมีความสัมพันธ์กับตัวแปรสถานภาพสมรส(p-valve .020)และสถานะสุขภาพโดยรวม(p-valve .009)ทักษะการตัดสินใจมีความสัมพันธ์กับตัวแปรอายุ(p-valve .002)และสถานะสุขภาพโดยรวม(p-valve .024)บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลวิจัยที่แสดงถึงความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับแนวคิดของ social supportไปกำหนดแนวทางการพัฒนาองค์ประกอบความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้
References
2.MacLeodet al. The impact of inadequate health literacy on patient satisfaction, healthcare utilization, and expenditures among older adults. Geriatric Nursing 2017 [cited 2017 Jan 12]:1-8. Available from https://dx.doi.org/10.1016/j.gerinurse.2016.12.003
3.กองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.ผลการสำรวจพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพตนเองตามหลัก 3อ2ส ของคนไทยอายุ15ปีขึ้นไป.[ออนไลน์]2558[อ้างเมื่อ28กุมภาพันธ์ 2560] จากhttps://www.hed.go.th/menuHome/file/192.
4.กองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.รายงานผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนวัยทำงาน (อายุ15-59ปี). [ออนไลน์]2559 [อ้างเมื่อ28กุมภาพันธ์2560] จากhttps://www.hed.go.th/linkhed/file/311.
5.ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ และนรีมาลย์ นีละไพจิตร. การสำรวจความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพ(Health Literacy).[ออนไลน์]2559[อ้างเมื่อ1กุมภาพันธ์2560]จาก
https://www.hed.go.th>news>file20160504.pdf.
6.แสงเดือน กิ่งแก้วและนุสรา ประเสริฐศรี.ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558;25(3):43-54.
7.Mc Quistan MR, Qasim A, Shao C, Straub-Morarend CL, Macek. Oral healthKnowledge among elderly patients. Journal of American Dental Association 2015 [cited 2016 Jan 15] ;146(1):17-26. Available from https://jada.ada.org.
8.สำนักงานสถิติแห่งชาติ.รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยพ.ศ.2557.กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด;2557.
9.สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราผู้ป่วยในด้วยโรคเบาหวานต่อประชากรแสนคนปี2550-2558.[ออนไลน์] 2560 [อ้างเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2560] จาก
https://www.thaincd.com/s/dl-12309/document/file/info/non-communicable-disease/....2550-2558.xlsx
10.ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานเขตบริการสุขภาพที่ 7.[ออนไลน์]2560[อ้างเมื่อ30มีนาคม2561]จาก https://hdcservice.go.th/ hdc/reports/report.php?.source=formated/ncd.php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7did.
11.Sharbatti Al S, Sadek M. Oral Health Knowledge, Attitudes & Practices of the elderly in Ajman, UAE. Gulf Medical Journal 2014;3(S2):152-164.
12.สุภาพร แสงอ่วม, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์, ภูดิท เดชาติวัฒน์, ชญานินท์ ประทุมสูตร, กันยารัตน์ คอวนิช. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย. CM Dent J 2015;36(1):53-61.
13.MacLeod S, Musich S, Gulyas S et al. The impact of inadequate health literacy on patient satisfaction,healthcare utilization, and expenditures among older adults. Geriatric Nursing 2017;38:334-341.
14.Sapuric M, Tozja F. Assessment of Knowledge and Attitudes to Preserve Oral Health among Older People Aged 60+ in FYROM. Balk J Dent Med 2015;19:26-32.
15.Szarka K, Dul N. Marketing focus on the Generation 50plus. Procedia-Social and Behavioral Sciences 2012;65:530-534.
16.Kim Ho I, Noh S, Chun H. Mediating and Moderating Effects in Ageism and Depression among the Korean Elderly: The Roles of Emotional Reactions and Coping Reponses. Osong Public Health Res Perspect 2016;7(1):3-11.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล