ประสิทธิผลของการส่งเสริมความรู้ด้านทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 5 ในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • ปณัฐฐา สุธรรมประจักษ์ โรงพยาบาลปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา
  • อัฎฮียะห์ มูดอ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
  • ชมพูนุช สุภาพวานิช วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การส่งเสริม, ทันตสุขภาพ, นักเรียน, ชั้นประถมศึกษา

บทคัดย่อ

               นักเรียนวัยประถมศึกษาเป็นกลุ่มที่มีปัญหาฟันผุสูง ซึ่งสาเหตุมักเกิดจากการมีพฤติกรรมการบริโภคและการดูแลความสะอาดช่องปากที่ไม่ดี  การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดระดับความรู้และพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพ และเปรียบเทียบคะแนนความรู้ การเปลี่ยนแปลงปริมาณคราบจุลินทรีย์และพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพก่อน – หลังเข้าร่วมโครงการส่งเสริมความรู้ด้านทันตสุขภาพ และติดตามผลเป็นระยะเวลา 1 ปี นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 5 ของโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 45 คนเข้าร่วมการศึกษา มีการให้ความรู้  ตอบแบบสอบถามและตรวจปริมาณคราบจุลินทรีย์ โดยใช้แบบบันทึก Plaque Index วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Paired Samples T – Test

              ผลการศึกษาเปรียบเทียบก่อนและหลังการให้ความรู้พบว่า นักเรียนมีคะแนนความรู้หลังจากเข้าร่วมโครงการส่งเสริมความรู้ด้านทันตสุขภาพ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อติดตามเป็นระยะเวลา 1 ปี (p < 0.001)  ในขณะที่ผ่านไป 1 ปี นักเรียนมีพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพโดยเฉพาะด้านการบริโภคอาหารหวานและการแปรงฟันหลังอาหารลดลง (p = 0.04) รวมทั้งมีปริมาณคราบจุลินทรีย์เพิ่มขึ้น (p <0.001) เมื่อติดตามหลังจากโครงการ 1 สัปดาห์

              ความรู้ทางทันตสุขภาพที่เพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางทันตสุขภาพได้ ดังนั้นควรจะมีการเพิ่มสิ่งจูงใจให้นักเรียนปฏิบัติ, สร้างเจตคติที่ดีต่อการดูแลอนามัยช่องปาก, เพิ่มการรับรู้ภาวะคุกคามของโรค และเน้นการปฏิบัติตัวให้มากขึ้น รวมถึงเพิ่มการมีส่วนร่วมของคุณครูและผู้ปกครองในการดูแลทันตสุขภาพของนักเรียนเพื่อลดปัญหาฟันผุในวัยเรียน

Author Biographies

ปณัฐฐา สุธรรมประจักษ์, โรงพยาบาลปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา

นักวิชาการสาธารณสุข (ทันตสาธารณสุข)

อัฎฮียะห์ มูดอ, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา

ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ

ชมพูนุช สุภาพวานิช, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

References

1.องค์การอนามัยโลก. WHO releases new report on global problem of oraldiseases.[ออนไลน์] 2547 [อ้างเมื่อ 13 ธ.ค. 2558]จาก https://www.who.int/mediacentre/news/releases/2004/pr15/en/

2.สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2555.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2556.

3. สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยะลา. รายงานสภาวะสุขภาพช่องปากทุกกลุ่มวัยปี พ.ศ. 2558.

4.สิยาภา พนังแก้ว วัชรสินธุ์, เยาวภา ติอัชสุวรรณ และสุรเดช ประดิษฐบาทุกา.ปัจจัยระดับบุคคลที่มีความ
สัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี.ในการจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 4;2557:1–17.

5.นันทนา ศรีอุดมพร. โรคฟันผุ (Dental Caries). ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 3 การดูแลเด็กสุขภาพดี.กรุงเทพฯ:บริษัท บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด;2556:234-237.

6.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. พบเด็กไทยฟันผุลดลง สปสช.ชี้ผลสำเร็จ กองทุนทันตกรรมช่วยประหยัดค่ารักษากว่า 300 ล้านบาท. [ออนไลน์] 2556 [อ้างเมื่อ 13 ธ.ค. 2558] จาก https://www.nhso.go.th/frontend/NewsInformationDetail.aspx?newsid=NjUw

7. ภาควิชาทันตกรรมชุมชนคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. โครงการทันตกรรมโรงเรียน. [ออนไลน์] ม.ป.ป. [อ้างเมื่อ 7 ก.พ. 2559] จาก https://home.kku.ac.th/somnam/QA2013/5.1/5.1.2.2.pdf

8. สุนันทา ศรีศิริ. โครงการสุขภาพในโรงเรียน. เอกสารประกอบการสอนวิชา สข401 โครงการสุขภาพในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ;2547.

9. กันยารัตน์ สมบัติธีระ และยุพา ถาวรพิทักษ์. อัตราการตอบกลับแบบสอบถามและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราการตอบกลับแบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ในงานวิจัยด้านพยาบาลศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์. วารสารวิจัย มข. (บศ.) (KKU Res J (GS)) 2558;15(1):105.

10. สิริลักษณ์ รสภิรมย์. ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองที่มีต่อพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ;2556.

11.จักรกฤษณ์พลราชม,สุปรียา ตันสกุล, ธราดล เก่งการพานิช และตุ๋ย ยังน้อย. กระบวนการเรียนรู้โดยการสังเกตจากตัวแบบเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพในนักเรียนชั้นประถมศึกษาอำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร. วารสารสุขศึกษา (Journal of Health Education) 2550;30(106):1.

12. ชิงชัย บัวทอง, ยินดี พรหมศิริไพบูลย์ และอัจริยา วัชราวิวัฒน์.ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบางเหียน อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่.วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น2558;3(2):293.

13. ณัฐวุธ แก้วสุทธา, อังศินันท์อินทรกำแหง, พัชรี ดวงจันทร์. ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น.วารสารพฤติกรรมศาสตร์ (Journal ofBehavioral Science)2556;19(2):153.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-10

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)