พฤติกรรมการใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาทันตสาธารณสุข สถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์ Lecturer, Sirindhorn College of Public Health, Khon Kaen Province
  • สมตระกูล ราศิริ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณูโลก
  • ธิดารัตน์ ราศิริ วสส พล

คำสำคัญ:

บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ทันตสาธารณสุข สถาบันอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาทันตสาธารณสุขสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพิษณุโลกเป็นการวิจัยเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง       ( Cross-Sectional Descriptive Study) โดยทำการสำรวจระหว่างเดือนสิงหาคม– ธันวาคม 2561 เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามการรับรู้, ทัศนคติและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์   กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาจำนวน 123คน ทำการสุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนจำนวนนักศึกษาของแต่ละชั้นปี

          ผลการศึกษา พบว่านักศึกษามีการรับรู้ และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.61/3และ 1.39/3 ตามลำดับ  มีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ระดับน้อย คะแนนเฉลี่ย 0.72/3 ไม่พบนักศึกษาที่สูบบุหรี่หรือใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันแต่เคยมีประสบการณ์สูบบุหรี่ร้อยละ 12.20 และระบุว่ามีคนรอบข้างสูบบุหรี่และใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 25.20 และ 1.62 ตามลำดับนักศึกษาทันตสาธารณสุขจำเป็นต้องยกระดับการรับรู้และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ให้อยู่ในระดับมาก เพื่อป้องกันการใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ และสามารถให้คำแนะนำแก่ประชาชน

Author Biography

สมตระกูล ราศิริ, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณูโลก

ผู้รับผิดชอบหลักต่อการเขียนบทความ 

References

1 สํานักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานสถิติประชากรและสังคม.[ออนไลน์] 2550 [สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2550] จาก http://portal.nso.go.th/otherWS-world-context-root/(old)indext.jsp
2 สํานักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานสถิติประชากรและสังคม. [ออนไลน์] 2558 [สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2558]
3 จุฬามาศ นิ่มคำ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตชาย ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนล่าง วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร;2560.
4 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. บุหรี่ไฟฟ้า นิโคตินมากกว่าบุหรี่มวน 180 เท่า หมอแนะ
อย่าลองจะทำให้ติดทั้งสองอย่าง.ข่าวจากหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต.กระทรวงสาธารณสุข
นนทบุรี. [ออนไลน์] 2561 [สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม2561] จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27707
5 Krejcie, Robert V. & Morgan, Daryle W. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30(3):607-10.
6 ชนิภา เจริญจิตต์กุล และชฏาภา ประเสริฐทาง. บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์:ภัยเงียบของวัยรุ่น.วารสารพยาบาลทหารบก 2557. 15 (3):149-54. จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/30476/26289

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)