ความวิตกกังวลต่อการเรียนวิชาคลินิกผสมผสาน 1 ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข

Main Article Content

อภิญญา ยุทธชาวิทย์
เทพไทย โชติชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความวิตกกังวลต่อการเรียนวิชาคลินิกผสมผสาน 1 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลต่อการเรียนวิชาคลินิกผสมผสาน 1 และศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการเรียนวิชาคลินิกผสมผสาน 1 ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ความวิตกกังวล ปัจจัยด้านครอบครัว ความเชื่อมั่นในตนเอง ระเบียบขั้นตอนการฝึกปฏิบัติคลินิก และข้อคำถามปัญหาและอุปสรรคในการเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงาน


ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 75.0 มีคะแนนเฉลี่ยสะสมโดยเฉลี่ย 2.99 (SD.=0.29) ค่าพิสัย 2.00 -4.00 มีทัศนคติไม่แน่ใจต่องานคลินิก ร้อยละ 57.2 ไม่ชอบ ร้อยละ 22.5 และชอบร้อยละ 20.0 ตามลำดับ มีความวิตกกังวลในระดับมาก ร้อยละ 85.0  (=13.15, SD. =7.76)  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลคือระเบียบขั้นตอนการฝึกปฏิบัติคลินิก ซึ่งมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.372, p-value=0.018)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

1. ธนพล บรรดาศักดิ์. ปัจจัยที่มีผลต่อความวิตกกังวลของนักศึกษาพยาบาล ระหว่างฝึกปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนัก. วารสารศูนย์การแพทย์ศึกษาคลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 ม.ค.-มี.ค.; 2560.
2. พนิดา จันทรา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2543.
3. ภานุวัฒน์ ปากชำนิ. การศึกษาความวิตกกังวลของนักกีฬารักบี้ฟุตบอล ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 29. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.
4. วิไลรัตน์ แสงศรี. ปัญหาของนักศึกษาและความต้องการบริการแนะแนวในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคพายัพ. วิทยานิพนธ์การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2540.
5. ศิริพร จิรวัฒน์กุล. เอกสารการวิจัยเรื่องโรคทางจิตของสตรีวัยเจริญพันธ์ที่มาขอรับบริการการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น. ขอนแก่น; 2530.
6. สาธนี ธรรมรักษา. ผลของการฝึกโปรแกรมไบโอฟิดแบคร่วมกับการฝึกสร้างจินตนาการต่อระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิตกกังวล. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2551.
7. Goldberg, D. The Detection of Psychiatric Illness by Questionnaire. Oxford University Press, London; 1972.
8. Karebayashi LFS, doPrado JM, Dasilva MPJ. Correlations between Stress and anxiety levels in nursing studens. J Nurs Educ Pract 2012; 2:128-34.