สภาวะช่องปากและพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพของเด็กพิเศษชั้นอนุบาล โรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูลจังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
เด็กพิเศษ, สภาวะช่องปาก, พฤติกรรมด้านทันตสุขภาพ, ค่าเฉลี่ยผุ ถอน อุด, โรคฟันผุ, โรคเหงือกอักเสบบทคัดย่อ
การวิจัยภาคตัดขวางครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการทำวิจัยเพื่อสำรวจสภาวะช่องปากและพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพและเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดฟันผุและเหงือกอักเสบกับพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพของเด็กพิเศษชั้นอนุบาล โรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล จังหวัดสุพรรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษามีทั้งสิ้น 30 คน เก็บข้อมูลโดยการตรวจสภาวะช่องปากตามแบบสำรวจสภาวะทันตสุขภาพขององค์การอนามัยโลกแบบสอบถามพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา เพื่อวิเคราะห์หา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอ้างอิงโดย Chi square
ผลการศึกษาพบว่า เด็กพิเศษชั้นอนุบาลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 8.12 ปี (SD=1.49) แบ่งเป็นเด็กออทิสติก17 คน (ร้อยละ 56.7) และดาว์นซินโดรม 13 คน (ร้อยละ 43.3)เด็กพิเศษมีความชุกในการเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมร้อยละ 53.3 และในฟันแท้ร้อยละ 16.7 โดยมีค่าเฉลี่ยฟันน้ำนมผุ ถอน อุด(dmft) อยู่ที่ 2.30±2.90 ส่วนค่าเฉลี่ยฟันแท้ผุ ถอน อุด(DMFT) อยู่ที่ 0.30±0.75และฟันขึ้นช้าร้อยละ 6.7ซึ่งพบในเด็กดาว์นซินโดรม นอกจากนี้ยังพบความชุกของโรคเหงือกอักเสบค่อนข้างสูง โดยพบมากกว่าครึ่งหนึ่งของเด็กทั้งหมด (ร้อยละ 66.7) สำหรับพฤติกรรมทันตสุขภาพในด้านการเข้ารับบริการทางทันตกรรม พบว่าเด็กพิเศษส่วนใหญ่เคยได้รับการตรวจฟัน และได้พบทันตบุคลากรในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา 1 ครั้ง โดยได้รับการบริการทันตกรรมจากหน่วยบริการเคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่ ด้านการดูแลความสะอาดช่องปาก เด็กส่วนใหญ่ได้รับการแปรงฟันหลังอาหารทันที วันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอนโดยทั้งหมดใช้ยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ส่วนในด้านการบริโภคอาหารของเด็กพิเศษนั้น ส่วนใหญ่จะรับประทานผลไม้ ไม่ค่อยรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลยกเว้นขนมกรุบกรอบ อย่างไรก็ตามไม่พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบแต่พบความสัมพันธ์แบบ marginal significance ระหว่างโรคเหงือกอักเสบกับการรับประทานขนมปัง/คุกกี้ (p=0.051) และการรับประทานขนมกรุบกรอบ (p=0.057)
โดยสรุปจากผลการสำรวจดังกล่าวพบว่าเด็กพิเศษยังมีปัญหาด้านสุขภาพช่องปากและการรณรงค์ส่งเสริม และป้องกันในด้านพฤติกรรมทันตสุขภาพยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำในเด็กกลุ่มนี้เป็นอย่างยิ่ง
References
2. มาลี อรุณากูร. การจัดการและการรักษาทางทันตกรรมในเด็กพิเศษ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพ: บริษัทพี.เอ. ลีฟวิ่งจำกัด; 2555.
3. Baykan Z. Causes and prevention of disabilities, handicaps, and defects. J Cont Med Educ. 2003;9:336-8.
4. Association AP. Diagnostic and statistical manual of mental disorders: DMS-5. Washington, D.C.: American Psychiatric Publishing; 2013.
5.ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ. คู่มือการตรวจประเมินและวินิจฉัยความพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการพ.ศ. 2550.กรุงเทพ: สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ; 2553.
6. Association AP. Diagnostic and statistical manual of mental disorders: DSM-IV-TR.Wahington, D.C.: American Psychiatric Publishing; 2000.
7. Elsabbagh M, Divan G, Koh Y-J, Kim YS, Kauchali S, Marcín C, et al. Global Prevalence of Autism and Other Pervasive Developmental Disorders. Autism Research. 2012;5(3):160-79.
8. Volkmar F, Siegel M, Woodbury-Smith M, King B, McCracken J, State M. Practice Parameter for the Assessment and Treatment of Children and Adolescents With Autism Spectrum Disorder. Journal of the American Academy of Child & Adolescent Psychiatry.53(2):237-57.
9. Faulks D, Hennequin M. Evaluation of a long-term oral health program by carers of children and adults with intellectual disabilities. Special care in dentistry : official publication of the American Association of Hospital Dentists, the Academy of Dentistry for the Handicapped, and the American Society for Geriatric Dentistry. 2000;20(5):199-208.
10. LuiZifeng YD, Luo Wei, Yang, Jing, Jiaxuan Lu, ShuoGao, Wenging Li. Impact of Oral Health Behaviors on Dental Caries in Children with Intellectual Disabilities in Guangzhou, China. Int J Environ Res Public Health. 2014;11:11015-27.
11. WeraarchakulWiboon WW, AngwarawongOnauma. Oral Health Status and Treatment Need of Disabled Children in Rehabilitation School in KhonKaen ,Thailand. Srinagarind Med J. 2005;20:17-23.
12. Gaçe E, Kelmendi M, Fusha E. Oral Health Status of Children with Disability Living in Albania.Materia Socio-Medica. 2014;26(6):392-4.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล