ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันในช่วงพักกลางวันที่โรงเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • เบญญาภา ผิวนวล วิทยาลัยการสาธารณสุข จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ขวัญวิภา เวทการ วิทยาลัยการสาธารณสุข จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ปริญญา จิตอร่าม วิทยาลัยการสาธารณสุข จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ธนกฤต ธนวงศ์โภคิน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์(ในพระบรมราชูปถัมภ์)

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการแปรงฟัน, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

บทคัดย่อ

                การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Analytical Study) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันในช่วงพักกลางวันที่โรงเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 303 คน  คำนวณสุ่มตัวอย่างโดยสูตรของเครซี่และมอร์แกนได้จำนวน 170 คน โดยสุ่มอย่างง่ายและเลือกนักเรียนที่มีการแปรงฟันในช่วงพักกลางวันนำมาวิเคราะห์ได้จำนวน 100 คน เครื่องมือในการศึกษาคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการแปรงฟันในช่วงพักกลางวันของนักเรียนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและไคสแควร์

              ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยเสริมคือ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลรอบข้าง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันในช่วงพักกลางวันของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนของปัจจัยนำ (เพศ,ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการแปรงฟันและทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมการแปรงฟัน) ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันในช่วงพักกลางวันของนักเรียน และปัจจัยเอื้อ (อุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปาก,สถานทีในการแปรงฟันและเวลาในการแปรงฟัน) ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันในช่วงพักกลางวันของนักเรียน และปัจจัยเสริม (การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร) ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันในช่วงพักกลางวันของนักเรียน

References

1. กรมอนามัย, กระทรวงสาธารณสุข. สำรวจสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 หวังลดปัญหาฟันผุ และแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากคนไทย”[ออนไลน์].2561[อ้างอิงเมื่อ 31 มกราคม 2561] จาก https://www.anamai.moph.go.th/ewt_news.php?nid=10623

2. วรเมธ สุขพาสันติและมานพ คณะโต.การแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียนของเด็กนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดหนองบัวลำภู . นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล; 2559.

3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. รายงานการตรวจราชการระดับจังหวัดสุพรรณบุรีปีงบประมาณพ.ศ.2559. สุพรรณบุรี : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ;2559.
4. ขวัญฤทัย ละมุลตรีและคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนวัดสระแก้ว (รุ่งโรจน์ธนกุลอุปถัมภ์) อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. สุพรรณบุรี :วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี ;2559:1-26.

5. วราภรณ์ ปรึกษากรและคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคฟันผุ ในเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในเขตตำบลแหลมบัว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ปี 2558. สุพรรณบุรี :วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี ; 2558.


6. Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement .1970;30(3):607-610.

7. ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล. (2554:2-5). ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น.กรุงเทพมหานคร : เบสท์บุ๊คส์(ออนไลน์)(อ้างอิงเมื่อ9 ธันวาคม 2559)จากhttp://www.dent.chula.ac.th /ForFon/Binde2.pdf.

8. ทาริกา คุ้มคำและคณะ.เปรียบเทียบความสะอาดช่องปากเด็กปฐมวัย อายุ4 ปี ก่อนและหลังให้ความรู้การแปรงฟันแบบฝึกปฏิบัติจริง (Hand on) และการให้ความรู้การแปรงฟันแบบฝึกปฏิบัติด้วยโมเดล (Modal) ในผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองชุมแสง ตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี.สุพรรณบุรี :วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี ; 2559.

9. ศิริรัตน์รอดแสวง.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตตำบลทุ่งทองอำเภอหนองบัวจังหวัดนครสวรรค์. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร ; 2558.

10. Cohen, S., Gottlieb, B. H., & Underwood, L. G. .Social relationships and health. In S. Cohen, L. G. Underwood, & B. H. Gottlieb (Eds.), Social support measurement and intervention: A guide for health and social scientists. New York: Oxford University Press.2000:3-25.

11. Jacobson, D. E. Types and timing of social support. Journal of Health Social Behavior.1986;250-264.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-06

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)