สภาวะโรคฟันผุ ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนด้านทันตสุขภาพของนักเรียน โรงเรียนประถมศึกษา อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
นักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา, ความรู้ด้านทันตสุขภาพ, การปฏิบัติตนด้านทันตสุขภาพ, สภาวะโรคฟันผุ, ทันตสุขภาพบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนด้านทันตสุขภาพ และความสัมพันธ์กับสภาวะโรคฟันผุของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา 590 คน โดยสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกสภาวะโรคฟันผุ และแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ แบบสอบถามด้านความรู้มีค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (KR – 20) เท่ากับ .75 แบบสอบถามด้านทัศนคติ และการปฏิบัติตน มีค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .74 และ .74 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีความรู้ด้านทันตสุขภาพอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 58.65) ทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 70.17) และการปฏิบัติตนอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 55.25) สภาวะโรคฟันผุของนักเรียน พบว่า มีผู้ปราศจากฟันแท้ผุ ร้อยละ 42.88 และค่าเฉลี่ยฟันแท้ผุ ถอน อุด DMFT 1.73 ซี่ต่อคน การศึกษาด้านความสัมพันธ์ต่อสภาวะโรคฟันผุ พบว่า ความรู้ด้านทันตสุขภาพมีความสัมพันธ์ต่อสภาวะโรคฟันผุของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p – value = .013) แต่ทัศนคติและการปฏิบัติตนด้านทันตสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์ต่อสภาวะโรคฟันผุของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p – value = .068 และ p – value = .297)
References
2. จันทนา อึ้งชูศักดิ์ และปิยะดา ประเสริฐสม. โรคฟันผุในฟันน้ำนม. วารสารทันตสาธารณสุข. 2549;11(1-2):2.
3. จุฬนาริน กระพี้แดง. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะฟันผุของนักเรียนประถมศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัด ขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา; 2555.
4. นาริม โตะกานี ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตกับสภาวะสุขภาพช่องปากของนักเรียนในโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลาม อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2555.
5. มนฤดี แสงวงษ์. การสำรวจภาวะสุขภาพตามตัวชี้วัดงานส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย ปีงบประมาณ 2556 ในเขตสุขภาพที่ 10. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี. 2558; 4(1):36-58.
6. ภัสธิรา อรุณปรีย์. ความรู้ เจคคติและพฤติกรรมในการดูแแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยา ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัด กาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2559.
7. วัลธินี ปิงแก้ว. สภาวะฟันผุและพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพโดยผู้ปกครองของเด็กอายุ 4 - 5 ปี อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.
8. สำนักทันตสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ แห่งชาติ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2555. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.
9. สุบงกช จามีกร. สถิติวิเคราะห์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร; 2556.
10. สุธาสินี ส้มไม้.ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการดูแลทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2552.
11. สุพัตรา เส็งนา. ความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติตัวในการดูแลทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 โรงเรียนท่าลาด ตำบลท่าลาด อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.
12. เอื้อมพร จูหว้า. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะฟันผุในกลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนบ้านทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา; 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล