สมรรถนะของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในมุมมองของบุคลากรสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • วารุณี สุดตา วิทยาลัยการสาธารณสุข จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะที่เป็นจริงและสมรรถนะที่พึงประสงค์ของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามมุมมองของบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดำเนินการวิจัยในกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขปฏิบัติงานประจำ เขตบริการสุขภาพที่ 5 จำนวน 98 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired t-test

          ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะที่เป็นจริงและสมรรถนะที่พึงประสงค์ของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในภาพรวมอยู่ในระดับสูง 2) สมรรถนะที่เป็นจริงและสมรรถนะที่พึงประสงค์ของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขตามการประเมินของบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) สมรรถนะที่มีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ สมรรถนะที่ 9 การบริหารจัดการและวิชาการ และ 4) สมรรถนะที่มีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ สมรรถนะที่ 4 ลักษณะการให้บริการทาง ทันตกรรม และสมรรถนะที่ 5 การเข้าถึงบริการทางทันตกรรม

          สรุปผล: ระดับสมรรถนะที่เป็นจริงและสมรรถนะที่พึงประสงค์ของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามการประเมินของบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยทั้งสมรรถนะที่เป็นจริงและสมรรถนะที่พึงประสงค์ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ สมรรถนะที่ 5 การเข้าถึงบริการทางทันตกรรม รองลงมา คือ สมรรถนะที่ 1 การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก

References

1.สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล. การพัฒนาสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน;2547.

2.คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. เอกสารเพื่อพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ หมายเลข 002. กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ;2547.

3.เกษม เวชสุทธานนท์และคณะ. แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พ.ศ. 2555-2564. (อัดสำเนา);2554.

4.สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ไม่มีทันตบุคลากร. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี : สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข;2554.

5.วารุณี สุดตา. มุมมองของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานทันตสาธารณสุขต่อการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในโรงเรียนประถมศึกษาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสุพรรณบุรี. ว.ทันตาภิบาล 2560 ม.ค.-มิ.ย.;28(1):14-22.

6.พรธิดา แสงทอง. สมรรถนะของพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลอุตรดิตถ์. การค้นคว้าแบบอิสระ พ.ม. สาขาการบริหารการพยาบาล, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2550.

7.จงถนอม สุ่มเกิด. สมรรถนะของพยาบาลหลังคลอด โรงพยาบาลอุตรดิตถ์. การค้นคว้าแบบอิสระ พ.ม. สาขาการบริหารการพยาบาล, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2550.

8.ขนิษฐา สุนพคุณศรี. สมรรถนะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ของผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลในสถานีอนามัย จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ สม.,
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช;2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-06

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)