คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านทันตกรรมป้องกันของ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัด ขอนแก่น
คำสำคัญ:
คุณลักษณะส่วนบุคคล, ปัจจัยการบริหาร, การปฏิบัติงานด้านทันตกรรมป้องกันของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านทันตกรรมป้องกันของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่นประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่นจำนวน134 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 92 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย และการสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คนแบบสอบถามได้ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีความเที่ยง(Reliability)0.96เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 5พฤษภาคม2561ถึงวันที่ 31พฤษภาคม2561สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
จากการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศหญิงร้อยละ62.0อายุต่ำกว่า 30 ปีร้อยละ61.8 การศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปร้อยละ 70.7 สถานภาพโสดร้อยละ 47.8 ระดับปัจจัยการบริหารและระดับการปฏิบัติงานภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.03 (S.D.=0.37) ,4.26(S.D.=0.41) ตามลำดับ ปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานด้านทันตกรรมป้องกันของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขส่วนปัจจัยการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.598, p-value < 0.001) โดยปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงาน ได้แก่ ปัจจัยการบริหารด้านกระบวนการบริหาร(r = 0.591,p-value = 0.001) ปัจจัยการบริหารด้านวัสดุอุปกรณ์(r = 0.639,p-value = 0.007) และปัจจัยการบริหารด้านด้านเวลา(r = 0.666, p-value = 0.020) โดยสามารทำนายการปฏิบัติงานด้านทันกรรมป้องกันของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่นได้ร้อยละ 44.4 (R2 = 0.444,p-value<0.001)
References
2. ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.
3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.รายชื่อและจำนวนเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดขอนแก่น.ขอนแก่น. (เอกสารอัดสำเนา); 2560.
4. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. ผลการสำรวจสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การ-สงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2560.
5. อรุณ จิรวัฒน์กุล. (บรรณาธิการ).ชีวสถิติ.พิมพ์ครั้งที่ 5. ขอนแก่น.คลังนานาธรรม; 2555.
6. วิชชนันท์ สุวรรณแสงและชนะพล ศรีฤาชา. ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการให้บริการทันตกรรมตามชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้กองทุนทันตกรรมของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนเขตสาธารณสุขที่ 10.ว. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น2557;21(1):44-62.
7. จิรชยา คำพิมพ์. แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสาธารณสุขที่ 10. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.
8. จิริสุดา บัวผัน, ประจักร บัวผันและพรทิพย์ คําพอ.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชมชนเขตสาธารณสุขที่ 12.ว. วิจัย มข 2554; 16(6): 679-692.
9. ธรรมนูญบุญจันทร์และวิทัศน์ จันทร์โพธิ์ศรี.ลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. ว.สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556;25(293):30-33.
10. ศศิธร เฝ้าทรัพย์, และสุวิทย์ อุดมพาณิชย์ (2560). คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล.;28(1):35-45.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล