การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ปณิธาน สนพะเนา
สันติสิทธิ์ เขียวเขิน
สุพัตรา วัฒนเสน

บทคัดย่อ

                   การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย ต.หมื่นไวย อ.เมือง จ.นครราชสีมา กลุ่มเป้าหมาย คือผู้ปกครองและผู้ร่วมพัฒนาในชุมชน จำนวน 114 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม และแบบวัดปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ในเด็ก ด้านข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ และการสังเกต ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้การแจกแจงความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติPaired sample t-testสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


                 ในการดำเนินงานพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนครั้งนี้เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานทุกขั้นตอนร่วมกันตามที่กำหนดไว้8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาบริบทพื้นที่ 2) วิเคราะห์ปัญหาร่วมกันและจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) จัดทำแผนปฏิบัติการ4) ดำเนินการตามแผน 5) สังเกต ติดตามและประเมินผล 6) เปรียบเทียบผล 7) สรุปผล และ8) สะท้อนผลลัพธ์ร่วมกัน พบว่าภายหลังการพัฒนา กลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นของคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ เจตคติ พฤติกรรม การส่วนร่วมในกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก และความพึงพอใจต่อกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ส่วนเด็กก่อนวัยเรียนมีปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value<0.001) อีกทั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ผ่านเกณฑ์ประเมินศูนย์เด็กเล็กคุณภาพทั้งด้านการดำเนินกิจกรรมและด้านผลลัพธ์และพบว่าเด็กก่อนวัยเรียนมีค่าฟันดี ไม่มีผุ (Cavity free) เพิ่มขึ้น


                 โดยสรุปการดำเนินงานนี้ทำให้เด็กก่อนวัยเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น และเกิดแนวทางที่เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ โดยปัจจัยที่ทำให้สำเร็จได้แก่ การมีส่วนร่วมของชุมชนทุกกระบวนการ การที่ผู้ปกครองเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพช่องปากเด็กและการที่ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

1.กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องกับงานทันตสาธารณสุข พ.ศ.2551. [ออนไลน์] 2551 [อ้างเมื่อ 28 ธันวาคม 2559]จากhttp//www.anamai.ecgates.com/news/download_all.php.

2.สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายการผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2556.

3.ศิริรัตน์ รัศมีโสรัจ. เอกสารประชุมเชิงปฏิบัติการเพิ่มศักยภาพทันตบุคลากรในการบูรณะฟันน้ำนมด้วยวัสดุอุดฟันชนิด Glass Ionomerแบบ SMART TECHNIC.โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กวัยก่อนเรียนประจำปี 2559.; 2559:หน้า 3-5.

4.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสูง. รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ ทส.003.งานทันตสาธารณสุข. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสูง ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา; 2560.

5.จอนสัน พิมพิสาร และวิไลวรรณ ทองเกิด. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลทันตสุขภาพเด็กเล็ก อำเภอโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. ว.ทันตสาธารณสุข 2551.;13(3):72-80.

6.หฤทัยสุจเจริญโกศล. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยระดับปัจเจกของผู้ปกครองปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็ก 4-5 ปี ในอบต. ดอนกลางกิ่งอำเภอแม่ออนจ. เชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาทันตกรรมป้องกันบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2546.

7.AllPhych [homepage on the Internet]. Chapter 9.1: Inferential Statistics. [cited 2018 Jan 4]. Available from: from https://allpsych.com/researchmethods/inferentialstatistics/

8. Bloom.B.S. Mastery learning. UCLA – CSEIP Evaluation Comment .Losangeles: University of California;1968.

9. Best J.W. &Kanh J.V. Research in Education (6th ed.). New Delhi: Plentice-Hall;1989.

10.Kemmis, K. &McTaggart, R. Participatory action research. Handbook of qualitative research. London: SAGE; 2000.