ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 ในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • พรธิชา สัตนาโค สาขาวิชาสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สันติสิทธิ์ เขียวเขิน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สงัด เชื้อลิ้นฟ้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากโดยฐานการเรียนรู้ร่วมกัน, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6, โรคฟันผุ, โรคเหงือกอักเสบ

บทคัดย่อ

                ปัญหาโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบถือว่าเป็นปัญหาสำคัญที่พบได้ในประชากรทุกกลุ่มอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กนักเรียนประถมศึกษามีอัตราการเกิดโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบค่อนข้างสูง การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากโดยฐานการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 ในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มตามเกณฑ์ จำนวน 83 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลองโรงเรียนบ้านดงหวาย ตำบลเกาะแก้ว จำนวน 38 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ โรงเรียนบ้านนากระตึบ ตำบลท่าม่วง จำนวน   45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กิจกรรมตามโปรแกรมประกอบด้วยฐานกิจกรรม 6 อย่าง คือ  1) ฐานการจัดการให้ความรู้เรื่องโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ 2) ฐานสาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีและการใช้เม็ดสีย้อมฟัน 3) ฐานการเล่าเรื่องจากประสบการณ์หรือปัญหาเรื่องโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบที่รุนแรง 4) ฐานกิจกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 5) ฐานการสร้างความตระหนักโดยการจัดกิจกรรมแรลลี่ 6) ฐานการจัดนิทรรศการ กลุ่มทดลองได้จัดกิจกรรมเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ตามโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired t – test และ Independent t-test  

                ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นของคะแนนเฉลี่ยด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค  การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรค การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการเกิดโรค พฤติกรรมการแปรงฟันอย่างถูกวิธี ส่วนด้านปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าเด็กนักเรียนมี Cavity free เพิ่มขึ้น

              โดยสรุปผลของโปรแกรมนี้ทำให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดี โดยปัจจัยที่ทำให้สำเร็จ  คือ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมผ่านฐานกิจกรรม การได้รับจากประสบการณ์จริง การปฏิบัติจริง

References

1. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายการผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก ระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2556.

2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงหวาย.รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ ทส.003. งานทันตสาธารณสุข. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงหวาย ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด;2560.

3. งานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. ผลการสำรวจสภาวะทางทันตสุขภาพ จังหวัดร้อยเอ็ด.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ดอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด;2560.

4. เยาวดี มาพูนธนะ.ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา;2550.

5. สุกัญญา แซ่ลี้.การประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุและเหงือกอักเสบของนักเรียนประถมศึกษาตำบลนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี;2551.

6. สุรวุฒิ แตงสาขา.การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดจินดาราม จังหวัดนครปฐม. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ;2551.

7. สุภาภรณ์ นารี. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยการประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น.มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2550.

8. วรัญญา ช่วยเกิด.ประสิทธิผลของการให้ทันตสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพรเขต 2 อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ;2551.

9. อาภาพร เผ่าวัฒนา และคณะ. การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนการประยุกต์แนวคิดและทฤษฏีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ.หจก. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา;2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)