ความต้องการฝึกอบรมของบุคลากรด้านสาธารณสุขที่สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพ ในเขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • Nicha WaenKhwaen 0629153287

คำสำคัญ:

บุคลากรด้านสาธารณสุข, ปัญหาสุขภาพ, ความต้องการฝึกอบรม

บทคัดย่อ

การจัดโครงการอบรมสำหรับการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุข จำเป็นต้องมีการสำรวจความต้องการและความจำเป็นในการฝึกอบรมที่สอดคล้องกับสภาวะสุขภาพสำหรับบุคลากรทางด้านสุขภาพที่ปฏิบัติงาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพของประชาชนเขตบริการสุขภาพที่ 7 และความต้องการอบรมระยะสั้นสำหรับบุคลากรสาธารณสุข ที่สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพของพื้นที่ในเขตบริการสุขภาพที่ 7 วิธีการดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานใน 4 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคามและกาฬสินธุ์ ในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข เจ้าพนักงานเภสัชกรรม เจ้าพนักงานแพทย์แผนไทย และอื่น ๆ จำนวน 356 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราค่า 5 ระดับ และคำถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบียนมาตรฐาน ผลการศึกษาวิจัย: ประชาชนมีปัญหาสุขภาพ ร้อยละ 87.6 โดยมีลำดับความสำคัญในปัญหาสุขภาพของประชาชนที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทำงาน ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง อุบัติเหตุทางถนน โรคมะเร็งตับ โรคหัวใจขาดเลือด โรคไตอักเสบ การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง และปัญหาติดเชื้อ HIV/AIDS บุคลากรได้รับการฝึกอบรมทางด้านสุขภาพในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 65.5 รับการอบรมมากที่สุดเรื่องโรคเบาหวาน ร้อยละ 23.6 ทันตกรรม ร้อยละ 23.0 แพทย์แผนไทยและอุบัติเหตุ
บนถนน ร้อยละ 22.8 เท่ากัน อบรมด้านอื่นๆ ร้อยละ 14.6 เช่น  Palliative care ความดันโลหิตสูง ยาเสพติด
งานอนามัยโรงเรียน งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค งานอาชีวอนามัย แม่วัยรุ่น อาหารปลอดภัย วิจัย แพทย์ทางเลือกวิถีธรรม การควบคุมการติดเชื้อในสถานบริการ (IC) และขยะ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 97.5 เห็นด้วยว่าบุคลากรสาธารณสุขทุกคนควรได้รับการอบรมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง บุคลากรสาธารณสุขมีความต้องการได้รับ
การฝึกอบรม ร้อยละ 95.5 แยกความต้องการรับการฝึกอบรมเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ต้องการอบรมด้านการบริหาร
มากที่สุดในเรื่องการบริหารงานแบบมุ่งสัมฤทธิ์ ร้อยละ 32.02 รองลงมาต้องการอบรมเกี่ยวกับกฎหมายทาง
ด้านสาธารณสุข ร้อยละ 30.62 อบรมการประเมินผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงาน ร้อยละ 28.09 และต้องการอบรมเกี่ยวกับระเบียบราชการต่างๆ ร้อยละ 26.97 โดยระยะเวลาที่สามารถเข้าอบรมได้ครั้งละ 3 วัน แต่อย่างไรก็ดียังมีปัญหาหรือข้อจำกัดในการพัฒนาบุคลากรคือด้านบริหารและทรัพยากร ได้แก่  งบประมาณมีจำกัดและทรัพยากรบุคคลไม่เพียงพอในการทำงาน ด้านบริการ ได้แก่ ภาระงานมีมากและการให้บริการเกินขอบเขตรับผิดชอบ
ด้านวิชาการหรือวิชาชีพ ได้แก่ มีหลักสูตรการอบรมวิชาชีพน้อย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขรับการประกวดและประเมินมากเกินไป มีความไม่เท่าเทียมกันทางวิชาชีพ การทำงานเป็นทีมสุขภาพแบบสหวิชาชีพยังไม่ครอบคลุมทุกวิชาชีพ
อีกทั้งมีการส่งคนไปรับการอบรมไม่ตรงและไม่สอดคล้องกับงานที่รับผิดชอบ ดังนั้นเพื่อการพัฒนาบุคลากร
ทางด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการอบรม ผู้บริหารควรมีการสนับสนุนอย่างจริงจัง เพื่อให้บุคลากรที่ต้องการอบรมให้ได้รับการอบรมตามความต้องการหรือตามแผนที่วางไว้ โดยมอบเป็นนโยบายการให้ไปฝึกอบรมให้ชัดเจน 

References

1. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สภาพแวดล้อมและความเป็นเมือง, รายงานสุขภาพ
คนไทย 2558. ttp://www.hiso.or.th/hiso5/report report2015T.php. ค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2559.
2. สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข.เอกสารสรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2558 รอบที่ 1. 2558. http://bie.moph.go.th/bie/home. ค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2559].
3. คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (CSO) เขตสุขภาพที่ 7. สรุปผลการดำเนินงาน การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ 2558. ปีงบประมาณ 2558. พฤศจิกายน 2558.
4. อาชัญญา รัตนอุบล และคณะ. (2548). การจัดการเรียนรู้ของแหล่งการเรียนรู้ ห้องสมุดประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาพการศึกษา.
5. อาชัญญา รัตนอุบล และคณะ. (2540). กระบวนการฝึกอบรมสำหรับการศึกษานอกระบบโรงเรียน.กรุงเทพฯ: บริษัทประชาชน จำกัด.
6. อวิรุทธ์ สิงห์กุล. การสำรวจความต้องการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธารณสุขภาคใต้. 2557;1: 49-58.
7. มงคล การุณงามพรรณ, และคณะ. พฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพของคนทำงานในสถานประกอบการเขตเมืองใหญ่: กรณีศึกษาพื้นที่เขตสาทร กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2555; 3: 51-66.
8. สถาบันเวชศาสตร์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. การสำรวจและศึกษาภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ
4 ภาค ของไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2549.
9. ศิริ วัฒนธีรางกูร และคณะ.การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมของ บุคลากรในหน่วยบริการปฐมภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารทันตาภิบาล. ฉบับที่ 1 ปีที่ 22 มกราคม - มิถุนายน
พ.ศ. 2554: 24-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)