ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่บูรณาการกับบทบัญญัติอิสลามของเด็ก อายุ 10 - 12 ปี ในโรงเรียนตาดีกา จังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • อัฎฮียะห์ อัฮมัดมูซา กลุ่มงานหลักสูตรทันตสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
  • นูรอาซานี วาจิ Public Health Technical Officer, Bacho Hospital, Narathiwas Province

คำสำคัญ:

โปรแกรมทันตสุขศึกษา, บทบัญญัติอิสลาม, พฤติกรรมทันตสุขภาพ, คราบจุลินทรีย์, โปรแกรมทันตสุขศึกษา, บทบัญญัติอิสลาม, พฤติกรรมทันตสุขภาพ, คราบจุลินทรีย์

บทคัดย่อ

            การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่บูรณาการกับบทบัญญัติอิสลามของเด็กอายุ 10 - 12 ปี ในโรงเรียนตาดีกา จังหวัดนราธิวาส ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนที่มีอายุ 10 - 12 ปี จำนวน 76 คนในโรงเรียนตาดีกา 2 แห่ง ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน ใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลในแต่ละครั้ง 1 - 3 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบบันทึกปริมาณคราบจุลินทรีย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า T - test (Paired Sample T - test และ Independent Samples T - test)

             ผลการศึกษา พบว่า หลังการได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่บูรณาการกับบทบัญญัติอิสลาม กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับบทบัญญัติอิสลามที่เกี่ยวข้องกับทันตสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่มทดลองมีปริมาณคราบจุลินทรีย์น้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

            

References

1. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2556. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2555. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2561. http://dental.anamai.moph.go.th/elderly/academic /full99.pdf.
2. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2561. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2562. http://dental2.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/dental/main.php?filename=stat.
3. โรงพยาบาลเจาะไอร้อง. 2561. สถิติโรคฟันผุในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2561. จากเอกสารสถิติโรคฟันผุในเด็กนักเรียนประถมศึกษา โรงพยาบาลเจาะไอร้อง อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส.
4. สำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดสตูล. 2013. ความเป็นมาและความสำคัญของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา).สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2562. http://opes.go.th/node/32
5. วันอาลี วาเต๊ะ. 2561, 3 กุมภาพันธ์. เลขานุการโรงเรียนตาดีกามูฮัมมาดียะห์ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส. สัมภาษณ์.
6. นาริม โตะกานี. 2556. ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตกับสภาวะสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส. ปริญญานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
7. ปณัฐธา สุธรรมประจักษ์ อัฎฮียะห์ มูดอและชมพูนุช สุภาพวานิช. 2561. ประสิทธิผลของการส่งเสริมความรู้ด้านทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งในจังหวัดยะลา. วารสารทันตาภิบาล. 29 (2): 69-83.
8. โนรีด้า แวยูโซ๊ะ ทรงชัย ฐิตโสมกุลและวรรธนะ พธพรชัยกุล.. 2557 ประสิทธิผลของการส่งเสริมความสามารถของตนในการดูแลช่องปากตามหลักศาสนาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดนราธิวาส. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. 12(1): 53-74.
9. สิริลักษณ์ รสภิรมย์. 2556. ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี ความสามารถตนเองที่มีผลต่อพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
10. พึงพิส โตอ่อน. 2553. ประสิทธิผลของโปรแกรมศึกษาที่ประยุกตืใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคฟันผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง เทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ปริญญานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)