ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากกับการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ศิริภา คงศรี ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • สดใส ศรีสอาด นักวิจัยอิสระ

คำสำคัญ:

การปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปาก, ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก

บทคัดย่อ

                ความรอบรู้ด้านสุขภาพส่งผลต่อสถานะสุขภาพโดยรวม หากประชากรกลุ่มวัยรุ่นมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ก็จะก้าวเข้าสู่วัยทำงานและวัยสูงอายุที่มีสุขภาพดีในอนาคต โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาสาขาทันตสาธารณสุขที่จะก้าวสู่การเป็นบุคลากรสาธารณสุขที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชน จึงต้องมีบทบาททั้งการเป็นแบบอย่างที่ดีทางทันตสุขภาพและเป็นผู้ให้คำแนะนำทางทันตสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่ จึงเป็นที่น่าสนใจว่า นักศึกษาสาขาทันตสาธารณสุขมีความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากและการปฏิบัติตัวเพื่อการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไร โดยทำการศึกษากลุ่มนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ชั้นปีที่ 1 – 4 จำนวน 218 คน ด้วยแบบสอบถามทั้งหมด 8 ตอน ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาด้วยค่า IOCเท่ากับ 0.994 ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.84 ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก ค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 12.51 (sd 1.78) จากคะแนนเต็ม20, ทักษะการสื่อสาร, ทักษะการจัดการตนเองและทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก  สำหรับทักษะการตัดสินใจพบว่าถูกต้องระดับมาก ทักษะการรู้เท่าทันสื่อส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปากส่วนใหญ่ปฏิบัติถูกต้องอยู่ในระดับมาก การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า องค์ประกอบด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการ, ทักษะการสื่อสาร, ทักษะการจัดการตนเอง, การรู้เท่าทันสื่อ และการตัดสินใจเพื่อการดูแลสุขภาพช่องปาก มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปาก ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ดังนั้น คณาจารย์หลักสูตรทันตสาธารณสุข ควรจัดกิจกรรมเน้นย้ำความรู้ความเข้าใจและวัดประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่องทุกชั้นปี และผสมผสานการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาองค์ประกอบความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก อาทิ การพัฒนาทักษะการสื่อสาร ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะการตัดสินใจ ในรายวิชาของหลักสูตร ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง รวมทั้งการศึกษาเพิ่มเติมในแนวทางการพัฒนาทักษะตามองค์ประกอบความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากที่มีประสิทธิผลต่อไป

References

1.ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และนฤมล ตรีเพชรศรีอุไร.ความฉลาดทางสุขภาพ.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นิวธรรมดาการพิมพ์(ประเทศไทย)จำกัด; 2554.
2.กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.รายงานผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนวัยทำงาน (อายุ 15-59ปี).[ออนไลน์]2559[อ้างเมื่อ 28กุมภาพันธ์ 2560]จากhttp://www.hed.go.th/linkhed/file/311.
3.อังศินันท์ อินทรกำแหง และธัญชนก ขุมทอง.การพัฒนาเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรสำหรับสตรีไทยวัยรุ่น.วารสารพยาบาลสาธารณสุข2560;31(3):19-37.
4.พรปวีณ์ แก้วนพรัตน์, อัจศรา ประเสริฐสินและอมราพร สุรการ. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของความฉลาดทางสุขภาพของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข2560;26(2):382-389.
5.อังศินันท์ อินทรกำแหง.รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การสร้างและพัฒนาเครื่องมือความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
6.สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุข ประจำปี 2561.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2560.
7.AlSadhan,S.A.,Darwish,A.G., Al-Harbi,N., Al-Azman,A., & Al-Anazi,H.Cross-sectional study of preventive dental knowledge among adult patients seeking dental care in Riyadh, Saudi Arabia. The Saudi Journal for Dental Research2017[cited 2019 March21];8(1-2):52-57. Available fromhttps://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2352003516300053.
8.ณัฐนันท์ ศิริเจริญ.การสื่อสารเพื่อสร้างความรู้และทักษะด้านการรู้เท่าทันสื่ออินเทอร์เน็ตในระดับเชิงลึกของเยาวชนไทยจากสามองค์ประกอบหลัก.วารสารวิชาการVeridian E-Journal2557;7(3):322-341.
9.ณัฐวุธ แก้วสุทธา, อังศินันท์ อินทรกำแหงและพัชรี ดวงจันทร์.ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ 2556;19(2):153-163.
10.สมลักษณ์ แสงสัมฤธิ์สกุล.โมเดลความสัมพันธ์เชิงเหตุของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในช่องปากของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุข[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา;2559.
11.อัจฉริยาพร เดชโยธิน.พฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยราชธานี ใน: เมธาวี ตันวัฒนะพงษ์, บรรณาธิการ.การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการครั้งที่ 3 “นวัตกรรมที่พลิกโฉมสังคมโลก”;2561พฤษภาคม 25; อุบลราชธานี; 2561. หน้า 1204-1212.
12.สราวุฒิ พงษ์พิพัฒน์, ภัทร ยนตรกร และธัชกร พุกกะมาน. พฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2560;1(1): 34-45.
13.Veiga,N., Pereira,C., Amaral,O., Chaves,C., Nelas,P. &Ferreira,M. Oral health education among Portuguese adolescents. Procedia-Social and Behavioral Sciences 2015 [cited 2018 august11];171:1003-1010.Availablefrom https:// www.sciencedirect.com/science/article/pii/s1877042815002517.
14.Halawany,H.S., Abraham,N.B., Jacob,V., & Al-Maflehi,N. The perceived concepts of oral health attitudes and behaviors of dental students from four Asian countries. The Saudi Journal for Dental Research2014 [cited 2019 March12];6:79-85.Available from
https:// www.sciencedirect.com/science/article/pii/s23520035140029.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)