ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันโรคฟันผุของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในเขตตำบลหนองผือ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
โปรแกรมสุขศึกษา, การป้องกันโรคฟันผุ, นักเรียนประถมศึกษา, ความสามารถตนเอง, แรงสนับสนุนทางสังคมบทคัดย่อ
ปัญหาด้านสุขภาพช่องปากพบได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กวัยเรียนช่วงชั้นประถมศึกษาตอนปลายสามารถที่จะพบปัญหาฟันแท้ผุได้ ซึ่งมีสาเหตุหลักคือการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ดีเท่าที่ควร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันโรคฟันผุของชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ตำบลหนองผือ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยจํานวนนักเรียนทั้งหมด 70 คน แบ่งกลุ่ม 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองจํานวน 35 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจํานวน 35 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขศึกษาที่ประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองและทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อ การจัดกิจกรรมกลุ่ม การสาธิตและฝึกปฏิบัติการแปรงฟันร่วมกับใช้ไหมขัดฟันที่ถูกวิธี ร่วมด้วยแรงสนับสนุนทางสังคมจากครูประจำชั้น ผู้ปกครอง และผู้วิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันโรคฟันผุโดยการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคมและแบบสอบถาม จํานวนทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ Independent t-test กําหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังภายหลังดำเนินตามโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการปฏิบัติตัว ในการป้องกันโรคฟันผุอยู่ในระดับสูงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และผลปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ของกลุ่มทดลอง มีจำนวนผู้มีแผ่นคราบจุลินทรีย์ลดลงมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
โดยสรุปความสำเร็จการใช้โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อป้องกันโรคฟันผุ คืออาสาสมัครนักเรียน การให้รางวัลและข้อมูลข่าวสาร ใช้สื่อตัวแบบสุดยอดฟันสวยยิ้มสะอาดสดใส สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธี ตลอดจนการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องของครู กลุ่มเพื่อนและผู้ปกครอง โดยจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน ด้วยการนำเสนอที่ให้เห็นภาพจริงและเข้าใจ จะส่งผลให้มีการพัฒนางานด้านทันตสาธารณสุขในกลุ่มเด็กวัยเรียนได้ดีขึ้น
References
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพและปัจจัยเสี่ยง (เพื่อการเฝ้าระวังทันตสุขภาพ). ปทุมธานี: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัดมโนพลัส;2559.
พึงพิศ โตอ่อน. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคฟันผุในนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2553.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือโครงการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560. [ออนไลน์]. ได้จาก:http://www.anamai.com/new/downlode. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2561].
งานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านข่าใหญ่. รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ ทส.003. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด;2560.
เปรมฤดี ศรีสังข์. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันฟันผุ ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง เทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2550.
นภาภรณ์ คำพลงาม. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุในนักเรียน จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์;2556.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ภาควิชาชีวสถิติสำหรับงานวิจัยและด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2557.
กรรณิกา นาสม. ผลของโปรแกรมทันตสุขภาพสำหรับผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนา เด็กเล็กบ้านแม่ยางเปี้ยว อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา;2560.
ประพิณทิพย์ หมื่นน้อย. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในเขตตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2548.
Bandura, A. Self Efficacy : Toword Unifying Theory of Behavioral Change Psychological. Phychologic Review 1997;84(2):191-215.
Schere, Y.K. & Shimmel, S. Using Self- Efficacy Theory to Educate Patients with Chronic Obstructive Pulmonary Disease. Rehabilitation Nursing 1996; 21:262–66.
House, J. S.Work Stress and Social Support. California Addison We;1981.
Pender, N J. Health Promotion in Nursing Practice. Appleton & Lange 3th ed,USA;1996.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล