ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนอำนวยเวทย์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • กุลธิดา ประภายนต์ นักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดลำโพ
  • ชฎาพร โรจน์บัวทอง นักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเสาน้อย
  • วารุณี สุดตา วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนอำนวยเวทย์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ดำเนินการวิจัยในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6  จำนวน 166 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ร้อยละ

          ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีความรู้เรื่อง ฟันคนเรามี 2 ชุด คือ ฟันแท้และฟันน้ำนม รองลงมาคือ ควรใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุและการแปรงฟันหลังอาหารทุกมื้อเป็นการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีที่สุด 2) นักเรียนมีทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเรื่อง การแปรงฟันก่อนมาโรงเรียนและก่อนนอนไม่ทำให้เสียเวลา 3) นักเรียนมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ปฏิบัติเป็นประจำคือ การแปรงฟันตอนเช้า รองลงมาคือ การใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ และ 4) นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคที่ปฏิบัติเป็นประจำคือ การดื่มนมรสจืด

           สรุปผล: นักเรียนโรงเรียนอำนวยเวทย์มีความรู้เรื่องการแปรงฟันหลังอาหารทุกมื้อเป็นการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีที่สุด  มีทัศนคติในเรื่องการแปรงฟันก่อนมาโรงเรียนและก่อนนอนไม่ได้ทำให้เสียเวลา  มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากคือ การแปรงฟันตอนเช้าและการใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ส่วนพฤติกรรมการบริโภคคือ การดื่มนมรสจืด

References

1. ภาสกร ศรีไทย. พฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 0-3 ปี ตำบลยางม่วง อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. สุพรรณบุรี: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี;2554.
2. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 6 ประเทศไทย พ.ศ.2549-2550. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2551.
3. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ.2555. นนทบุรี : สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข;2556.
4. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ : บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด;2561.
5. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. การสำรวจเพื่อประเมินการดำเนินงานตามกลุ่มอายุ จังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2559. สุพรรณบุรี: งานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี;2559.
6. โรงพยาบาลศรีประจันต์. แบบสำรวจสภาวะช่องปากและพฤติกรรมในแด็กประถมศึกษา. สุพรรณบุรี: โรงพยาบาลศรีประจันต์;2559.
7. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. การสำรวจเพื่อประเมินการดำเนินงานตามกลุ่มอายุ จังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2557. สุพรรณบุรี: งานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี;2557.
8. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. การสำรวจเพื่อประเมินการดำเนินงานตามกลุ่มอายุ จังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีงบประมาณ 2558. สุพรรณบุรี: งานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี;2558.
9. โรงพยาบาลศรีประจันต์. แบบสำรวจสภาวะช่องปากและพฤติกรรมในแด็กประถมศึกษา. สุพรรณบุรี: โรงพยาบาลศรีประจันต์;2557.
10. โรงพยาบาลศรีประจันต์. แบบสำรวจสภาวะช่องปากและพฤติกรรมในแด็กประถมศึกษา. สุพรรณบุรี: โรงพยาบาลศรีประจันต์;2558.
11. ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 13.กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี;2555.
12. Zhu L, Petersen PE, Wang HY, Bian JY and Zhang BX. Oral health knowledge, attitudes and behaviour of children and adolescents in China. Int Dent J 2003;53:289-298.
13. สิยาภา พนังแก้ว วัชรสินธุ์. ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมด้านทันตสุขภาพและสภาวะสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 4;2556:1-17.
14. บังอร กล่ำสุวรรณ์ และปิยะนุช เอกก้านตรง. ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่ก้าวสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 10 และ 12. วารสารศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น 2552;3(1):99-113.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)