ประสบการณ์การตั้งครรภ์ระหว่างเรียนของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ยุทธชาวิทย์ ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ประสบการณ์, การตั้งครรภ์ระหว่างเรียน, อุดมศึกษา

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาสาเหตุของการตั้งครรภ์ระหว่างเรียนของนักศึกษา 

ระบุปัญหาที่นักศึกษาเผชิญในระหว่างการตั้งครรภ์ และประเมินความต้องการความช่วยเหลือของนักศึกษา เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางการป้องกันการตั้งครรภ์ระหว่างเรียนของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา  เป็นแนวทางในการช่วยเหลือนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ตั้งครรภ์ระหว่างการเรียนและเป็นแนวทางการปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา เพื่อลดปัญหาด้านการศึกษาและสังคม โดยการศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth interview) และการสังเกต ซึ่งใช้พื้นที่ สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา จังหวัดขอนแก่น โดยเป็นการเลือกศึกษาเฉพาะเจาะจง พื้นที่ ใช้เวลาการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน 2551 ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้คือนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ หรือ ผ่านการตั้งครรภ์มาแล้ว  ในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา จังหวัดขอนแก่น จำนวน 5 คน 

ผลการวิจัย พบว่า เด็กวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ระหว่างเรียนมีความเห็นว่าการตั้งครรภ์ระหว่างเรียนเป็นการตั้งครรภ์ที่หญิงยังไม่มีความพร้อมที่จะเป็นมารดา และการตั้งครรภ์นี้จะเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถทำการศึกษาได้ประสบความสำเร็จ และยังเป็นเรื่องที่ไม่ยอมรับในสังคมไทย และพบว่าสาเหตุของการตั้งครรภ์ระหว่างเรียนคือสาเหตุจากตัววัยรุ่นกล่าวคือ พัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กวัยรุ่นเอง , เด็กวัยรุ่นยังขาดความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษา , ค่านิยมและทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องเพศของวัยรุ่นปัจจุบันที่เปลี่ยนไปและการคบเพื่อนของวัยรุ่น นอกจากนี้ยังมีสาเหตุจากครอบครัว กล่าวคือ การที่ครอบครัวขาดความรัก ความอบอุ่น, การที่สถาบันการศึกษาอยู่ห่างจากภูมิลำเนาเดิม จึงต้องพักอาศัยอยู่ตามลำพัง ไม่ได้อยู่กับครอบครัว , และยังพบว่าสาเหตุยังมาจากสังคม วัฒนธรรมและความล้มเหลวของการคุมกำเนิดอีกด้วย  ผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบของการตั้งครรภ์ระหว่างเรียน คือ ผลกระทบต่อหญิงวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และด้านการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อบุตรและครอบครัวของหญิงวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ มีผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจโดยรวมอีกด้วย ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการความช่วยเหลือของนักศึกษาที่ตั้งครรภ์ระหว่างเรียนคือ ความต้องการความช่วยเหลือจากครอบครัว และความต้องการความช่วยเหลือจากสถาบันการศึกษา

References

1.จิรารัตน์ พร้อมมูล.การปฏิบัติบทบาทของบิดามารดาและการรับรู้ของบุตรวัยรุ่นด้านพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็กบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2548.
2.เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ของการเป็นมารดาในระยะตั้งครรภ์ของหญิงวัยรุ่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล;2543.
3.ฤดี ปุงบางกะดี่ .การศึกษาการรับรู้ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลแม่และเด็ก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล;2540.
4.วาสนา ขอนยาง. การปฏิบัติพันธกิจของครอบครัวระยะมีบุตรวัยรุ่นหญิงและทัศนคติเรื่องเพศของวัยรุ่นหญิง.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลครอบครัว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2548.
5.สุภาภรณ์ ปัญหาราช. พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการรับรู้ภาวะเสี่ยง:การศึกษาเชิงบรรยายในวัยรุ่น ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2547.
6.พัชรินทร์ สิมทะราช. ผลของการพัฒนาทักษะการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศต่อการรับรู้สมรรถนะในตนเอง และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชายระดับอาชีวศึกษา.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2544
7.ยุพยงค์ โคตรพัฒนานนท์.ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติพันธกิจของครอบครัวระยะมีบุตรวัยรุ่นกับทักษะชีวิตพื้นฐานของวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลครอบครัว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2543.
8.ศราวุธ นันทวรรณ.โครงการ : หลักสูตรที่เหมาะสมในกลุ่มโรงเรียนชีวิตเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเยาวชนตำบลสูงเม่น. .[ออนไลน์] 2550 [อ้างเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2550]. จาก http://www.pcuinnovation.com/pcu/878
9. สุชาติ โสมประยูร&วรรณี โสมประยูร. เพศศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช;2543.
10.สุมาลี ตราชู. พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นและการป้องกันในตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2550.
11.สุชา จันทร์เอม.จิตวิทยาวัยรุ่น พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ:แพร่วิทยา;2540.
12.กาญจนา บุญทับ.ปัจจัยพื้นฐานบางประการ แรงสนับสนุนและความสามารถในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล;2534.
13.ภารดี บุญเพิ่ม. การสอนเพศศึกษาของครอบครัวที่มีบุตรวัยรุ่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลครอบครัว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2544.
14.รพีพรรณ เรืองเดชอนันต์. ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อการตั้งครรภ์ การสนับสนุนทางสังคมและสัมพันธภาพกับทารกในครรภ์ของหญิงครรภ์แรก.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการพยาบาลแม่และเด็ก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2539.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)