ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนอนุบาลเซกา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • ปรียานุช นามพิกุล วิทยาจารย์ชำนาญการ (ด้านการสอน) ภาควิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ณัฐวุฒิ พูลทอง ทันตแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลเซกา จังหวัดบึงกาฬ

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6  โรงเรียนอนุบาลเซกา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 220 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่าง ตุลาคม – พฤศจิกายน 2561 โดยใช้แบบสอบถาม โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ไคว์สแควร์และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน

            ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 58.6 การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพพบว่า การรับรู้ในความสามารถที่จะดูแลทันตสุขภาพของตนเอง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ และแรงสนับสนุนทางสังคมในการดูแลทันตสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( p-value = 0.001, p-value = 0.002  ตามลำดับ) ส่วนเพศ อายุ ระดับการศึกษา บุคคลที่นักเรียนอาศัยอยู่ด้วย อาชีพผู้ปกครอง ระดับการศึกษาผู้ปกครอง รายได้ของครอบครัว จำนวนสมาชิกในครอบครัว ความรู้ที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก และทัศนคติเกี่ยวกับทันตสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 (p-value > 0.05) การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะให้ผู้ปกครอง เพื่อน และครู ควรที่จะให้แรงสนับสนุนทางสังคมโดยชักจูงให้ความสนใจและตระหนักไปถึงการปลูกฝังและกระตุ้นเตือนแก่เด็กในเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน

References

1.คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. โรงพยาบาลทันตกรรมจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เด็กวัยประถมศึกษา. [ออนไลน์] 2559 [อ้างเมื่อ 8 กรกฎาคม 2561] จาก https://dentist.kku.ac.th/news.php?id=142
2.สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2556. [ออนไลน์] 2556 [อ้างเมื่อ 8 กรกฎาคม2561] จากhttps://dental.anamai.moph.go.th/elderly/academic/full99.pdf
3.วิชชุตา มัคสิงห์และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของเด็กวัยเรียนในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช. [ออนไลน์] 2559 [อ้างเมื่อ 8 กรกฎาคม 2561] จากhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/68724
4.วิมลรัศมิ์ พันธุ์จิรภาค. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุหญิง จังหวัดสมุทรปราการ.[ออนไลน์] 2554 [อ้างเมื่อ 30 สิงหาคม 2561]
จาก https://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/51912449/title.pdf
5.วิภาวี เหล่าจตุรพิศ . แรงสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อภาวะฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 จังหวัดกาฬสินธุ์.
กรุงเทพมหานคร.[ออนไลน์] 2553 [อ้างเมื่อ 30 สิงหาคม 2561] จาก https://www.tnrr.in.th/?page=result_search&record_id=10385972
6.เสาวนีย์ ชูจันทร์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนและการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียนตอนปลาย ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน.[ออนไลน์] 2559 [อ้างเมื่อ 13 ธันวาคม 2561] จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/64274
7.นัทธมน เวียงคำและคณะ. ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองรวมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนประถมศึกษา
ตำบลบัวน้อย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. [ออนไลน์] 2559 [อ้างเมื่อ 8 กรกฎาคม 2561] จาก https://tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/27712
8.อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา;2547.
9.ธิดารัตน์ ตั้งกิตติเกษม และวัชรพงษ์ หอมวุฒิวงศ์. (2555). สภาวะช่องปากและพฤติกรรมทันตสุขภาพของเด็กนักเรียนกลุ่มอายุ 12 ปี ในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดหนองคาย ประจำปี 2553.[ออนไลน์] 2555 [อ้างเมื่อ 13 กรกฎาคม 2561] จาก https://www.lib.dent.chula.ac.th/tj_dex_detail.php?id=3327
10.ภัสธิรา อรุณปรีย์. (2559). ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4-6 โรงเรียนหนองบัวโจดดงลิงวิทยา ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์..[ออนไลน์] 2559 [อ้างเมื่อ 13 กรกฎาคม 2561] จาก https://203.157.186.16/kmblog/page_research_detail.php?ResID=102
11.พิมพ์ชนก กองทรัพย์. การศึกษาภาวะสุขภาพช่องปากและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นระดับประถมศึกษาตอนปลาย ในอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง...[ออนไลน์] 2560 [อ้างเมื่อ 8 กรกฎาคม 2561] จาก https://cdea.scphtrang.ac.th/node/102
12.สิริยากรณ์ กันหมุด. ความรู้ ทัศนคติ และการแปรงฟันของเด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดควนขัน) อำเภอเมือง จังหวัดตรัง. [ออนไลน์] 2560 [อ้างเมื่อ 13 กรกฎาคม 2561] จาก https://cdea.scphtrang.ac.th/node/95
13.วรเมธ สุขพาสันติและคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียนของเด็กนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายในจังหวัดหนองบัวลำภู. [ออนไลน์] 2558 [อ้างเมื่อ 13 กรกฎาคม 2561] จาก https://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T&art_id=2023
14.อาซีย๊ะ แวหะยะและคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. [ออนไลน์] 2560 [อ้างเมื่อ 13 กรกฎาคม 2561] จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/92839
15.วิทยา โปธาสินธ์. ปัจจัยที่ผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กประถมศึกษา อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. [ออนไลน์] 2551 [อ้างเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2561] จาก https://dental2.anamai.moph.go.th/download/Journal/v13no4_2.PDF?fbclid=IwAR2uPWY8xt-rP5F7G_Y5jcZGsTZAiEdsa9vE5LexlKpwqar8CcPdHZWQa5U
16.ศุภกร ศิริบุรี. ความสัมพันธ์ของปัจจัยกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากด้วย PRECEDEFramework ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. [ออนไลน์] 2560 [อ้างเมื่อ 30 ตุลาคม 2561] จาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4777
17.พิชามญช์ จันทุรสและคณะ. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่5-6สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลาเขต 1. [ออนไลน์] 2552 [อ้างเมื่อ 13 กรกฎาคม 2561] จาก https://ejournals.swu.ac.th/index.php/pe/article/view/2233
18.สารอวี เปาะอาเดะ. พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคฟันผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6ของโรงเรียนบ้านไอร์โซ ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส. [ออนไลน์] 2552 [อ้างเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561] จาก https://administer.pi.ac.th/uploads/eresearcher/upload_doc/2016/project/1474341758366104002256.docx
19.ทวีชัย สายทอง. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5และ 6 ตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. [ออนไลน์] 2551 [อ้างเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561] จาก https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/218598
20.นัฐวุฒิ โนนเภาและคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. [ออนไลน์] 2561 [อ้างเมื่อ 8กรกฎาคม 2561] จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/112465
21.ธัญนิดา เจริญจันทร์และคณะ. ความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้ความสามารถของตนเองรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสตรีนนทบุรีจังหวัดนนทบุรี . [ออนไลน์] 2557 [อ้างเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561] จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/79753

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)