ผลของนิทานต่อสุขภาพช่องปากในเด็กเล็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กท่าลาดขาว ตำบลท่าลาดขาว อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • บัณฑิต นิตย์คำหาญ วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • เจวลี ผ่องแผ้ว นักวิชาการทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้อง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ
  • อาภาภรณ์ พรมรักษา นักวิชาการทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยไผ่ อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

นิทาน, เด็กก่อนวัยเรียน, สุขภาพช่องปาก

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) ในเด็กเล็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กท่าลาดขาว ตำบลท่าลาดขาว อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเล่านิทานส่งเสริมทันตสุขภาพต่อสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียน  กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็ก อายุ 3-5 ปี และผู้ปกครองเด็ก  กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และจัดกิจกรรมเล่านิทานส่งเสริมทันตสุขภาพให้กับเด็กก่อนวัยเรียน  และให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และสถิติเชิงอนุมานความแตกต่างโดยใช้สถิติ Dependent t-test และ Wilcoxon sign rank test ระยะเวลาที่ศึกษา สิงหาคม – ธันวาคม 2561

          ผลการวิจัยพบว่า หลังกิจกรรมเด็กมีปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p-value = 0.001)  โดยเด็กให้ความร่วมมือกับผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้น  ผู้ปกครองมีความรู้เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p-value = 0.037)  ผู้ปกครองมีทัศนคติเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.001)   และการปฏิบัติตัวของผู้ปกครองพบว่า  แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  ที่ระดับความผิดพลาดไม่เกินร้อยละ 5 (p-value = 0.599) 

References

1. ฝ่ายทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนคราชสีมา. ผลสำรวจสภาวะช่องปากตามกลุ่มอายุจังหวัด นครราชสีมา. นครราชสีมา, 2556.
2. กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขออำเภอโชคชัย. ข้อมูลพื้นฐานอําเภอโชคชัย;2556.
3. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสํารวจสภาวะสุขภาพระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2555 กรงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2555.
4. อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิตสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สุขภาพ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2551.
5. อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น : ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, พิมพ์ครั้งที่ 1; 2547.
6. มะลิวัลย์ อัจฉริยธรรม และคณะ. โปรแกรมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมป้องกันโรคฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2552; 2: 21-28.
7. กฤติยา โนนใหญ่. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ปกครอง เพื่อป้องกันการเกิดโรคฟันผุ ตำบลอี่หล่ำ อำเภออุทมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2555.
8. ธาราทิพย์ ก้อนทอง. ผลของโปรแกรมประยุกต์การพัฒนาความสามารถในการดูแลช่องปากแบบใกล้ชิดต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของเด็กในปกครองของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะดอบ ตำบลตะดอบ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารทันตาภิบาล. 2557; 1: 57-68.
9. จันทร์เพ็ญ เกสรราช. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านเฉนียง ตำบลเฉนียง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. วารสารทันตาภิบาล. 2557; 2: 1-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)