สภาวะทันตสุขภาพและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของนักเรียนประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
สภาวะทันตสุขภาพ, คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก, นักเรียนชั้นประถมศึกษาบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวาง (Descriptive cross-sectional study) เพื่อศึกษาสภาวะทันตสุขภาพและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาจาก 5 โรงเรียนจำนวน 308 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากและแบบสอบถามที่ผู้วิจัยดัดแปลงจากแบบตรวจในการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติของประเทศไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติไคสแควร์
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความชุกของโรคฟันผุคิดเป็นร้อยละ 65.26 และค่าเฉลี่ยฟันแท้ผุ ถอน อุด คิดเป็น 2.03 ซี่ต่อคน ค่าเฉลี่ยของคราบจุลินทรีย์ 0.97 และคราบหินปูน 0.41 รวมค่าเฉลี่ยอนามัยช่องปากเท่ากับ 1.38 ในส่วนของคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70.78 ได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพช่องปากต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน กิจกรรมที่ได้รับผลกระทบเรียงตามลำดับ ดังนี้ การกิน การทำความสะอาดช่องปาก การพักผ่อนนอนหลับ การยิ้ม การรักษาอารมณ์ปกติ การพูด การติดต่อสื่อสาร และ การศึกษา คิดเป็น ร้อยละ 55.5, 37.3, 30.8, 30.8, 26.9, 19.2, 16.9 และ 14.6 ตามลำดับ ภาวะฟันผุมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < 0.001) โดยผู้ที่มีฟันผุได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพช่องปาก เป็น 3.78 เท่าของผู้ที่ไม่มีฟันผุ
การศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า สภาวะทันตสุขภาพในเด็กนักเรียนประถมศึกษามีความเกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้จะใช้เป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพช่องปากสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
References
2. สุดาดวง กฎษฎาพงษ์. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก. กรุงเทพฯ: ภาควิชาทันตกรรมชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.
3. WHO. Oral Health Surveys: Basic methods. 5th ed. Geneva; World health Organization 2013.
4. เสกสรร มาละเสาร์. ภาวะสุขภาพช่องปากที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของเด็กประถมศึกษา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [ออนไลน์] 2553 [อ้างเมื่อ 6 มิถุนายน 2562] จาก https://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2553/mph1053sm_abs.pdf
5. ญาณี ใจแก้ว, สุบิน พัวศิริ และ รัชฎา น้อยสมบัติ. การเปรียบเทียบผลกระทบของช่องปากต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียนโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทองและทองแดง อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี. ว.ทันต. ปีที่ 60 ฉบับที่ 1 ม.ค.-มี.ค. 2553: 32-39.
6. สุดาดวง กฎษฎาพงษ์. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก (Oral health-related quality of life : OHRQoL). ทันตภูธร ฉบับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2554: 39-40.
7. ฟันน้ำนมผุ ภัยมือส่งผลให้ เด็กพัฒนาการล่าช้า [ออนไลน์] 2556 [อ้างเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561] จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/14438-“ฟันน้ำนมผุ”%20ภัยมืดส่งผลให้%20“เด็กพัฒนาการล่าช้า”.html
8. นิรดา เลนทำมี. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง; 2561. [ออนไลน์] 2561 [อ้างเมื่อ 4 มิถุนายน 2562] จาก https://cdea.scphtrang.ac.th/node/124
9. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ประตู...สู่สุขภาพที่ดีในทุกช่วงวัยของชีวิต. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2555.
10. ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล, บรรณาธิการ. ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น. ภาควิชาทันตกรรมป้องกันสำหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: บริษัทเบสท์บุ๊คส์ออนไลน์จำกัด; 2551.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล