ผลของโปรแกรมการเรียนรู้ทันตสุขภาพแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาการรับรู้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์ในศูนย์อนามัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของไทยd

ผู้แต่ง

  • รชานนท์ ง่วนใจรัก
  • อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง Assistant Professor, Faculty of Public Health, Nakhon Ratchasima Rajabhat University
  • อัญชลีพร อิษฎากร Public Health Officer, Department of School-and-Teen Aged Health Promotion Development, Regional Health Promotion Center 9, Nakhon Ratchasima

คำสำคัญ:

สื่ออินโฟกราฟิก, หญิงตั้งครรภ์, การรับรู้ประโยชน์, สุขภาพช่องปาก

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการเรียนรู้ทันตสุขภาพแบบผสมผสานในการพัฒนาการรับรู้ประโยชน์ของการดูแลสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ของศูนย์อนามัยเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 31 คน กลุ่มทดลองได้รับสื่อทันตอินโฟกราฟิกผ่านไลน์แอพพลิเคชั่นเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก ใช้เวลาดำเนินการทดลอง 12 สัปดาห์ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด และเปรียบเทียบผลการรับรู้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยการวิเคราะห์ Risk ratio (RR) และนำเสนอพร้อมกับ 95%CI

          ผลการศึกษาพบว่า หลังทดลองหญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มทดลองมีการรับรู้ประโยชน์มากที่สุดเกี่ยวกับการขูดหินปูนร่วมกับแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอจะช่วยรักษาโรคเหงือกอักเสบได้ ดีเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมเป็น 2.81 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (RR=2.81, 95%CI=1.75, 4.53, P<0.001)และมีการรับรู้ประโยชน์น้อยที่สุดเกี่ยวกับการใช้แปรงสีฟันที่มีขนาดพอเหมาะกับช่องปากจะช่วยให้แปรงฟันได้สะอาดและทั่วถึงมากขึ้น ดีเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมเป็น 1.50 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (RR=1.50, 95%CI=1.08, 2.08, P<0.05) การศึกษาครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่าการใช้สื่อทันตอินโฟกราฟิกผ่านทางไลน์แอพพลิเคชั่นส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีการรับรู้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น และเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะส่วนบุคคลของหญิงตั้งครรภ์เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีของตนเอง

References

Saddki N, Bachok NA, Hussain, NHN, Zainudin SLA & Sosroseno W. The association between maternal periodontitis and low birth weight infants among Malay women. Community dentistry and oral epidemiology. 2008; 36(4):296-304.

Wandera M, Åstrøm AN, Okullo I & Tumwine JK. (2012). Determinants of periodontal health in pregnant women and association with infants’ anthropometric status: a prospective cohort study from Eastern Uganda. BMC pregnancy and childbirth. 2012;12(1):90.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา. แบบบันทึกการตรวจสุขภาพช่องปาก: ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา. เอกสารอัดสำเนา;2561.

สำนักทันตสาธารณสุข. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย ANC คุณภาพ WCC คุณภาพ ศพด. คุณภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2556.

สำนักทันตสาธารณสุข. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุขประจำปี 2561. [ออนไลน์] 2561. [อ้างเมื่อ 17 ส.ค. 2561] จาก http://dental2.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/dental/ewt_dl_link.php?nid=1691.

กองทันตสาธารณสุข. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลสุขภาพช่องปากแม่และเด็ก. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2545.

คุณากร ขันชัยภูมิ. ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาเพื่อการส่งเสริมทันตสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลแก้งคร้อ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2556.

ปวิตรา ขัติยะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา;2556.

อารีรัตน์ จันทร์หนู. ประสิทธิผลของการส่งเสริมทันตสุขภาพหญิงตั้งครรภ์แบบบรูณาการในโรงพยาบาลจะนะ. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. 2557;12(1):31-52.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.). ผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. [ออนไลน์] 2561. [อ้างเมื่อ 29 พ.ค. 2561] จาก https://www.etda.or.th/documents-for-download.html.

สุภาพ พุทธปัญโญ, นิจฉรา ทูลธรรม และ นันทิพัฒน์ พัฒนโชติ. ผลประสิทธิผลของของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพต่อความฉลาดทางสุขภาพ พฤติกรรมการลดน้ำหนัก และน้ำหนักของบุคลากรที่มีภาวะโภชนาการเกินในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2559; 9(4):42-59.

Polson AM. Gingival and Periodontal Problems in Children. Pediatrics. 1974;54(2): 190-5.

Rosenstock IM. Historical origins of the health belief model. Health Education Monographs. 1974;2:328-335.

เสาวณีย์ ภูมิสวัสดิ์, เกสร สุวิทยะศิริ และ วันดี ไชยทรัพย์. การรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลราชวิถี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. 2556;29(2):88-94.

สิริลักษณ์ วงษเนาว์. โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากโดยการประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบในหญิงตั้งครรภ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสร้างสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;2558.

จงกลณี จงพรชัย, กฤตติกา ตัญญะแสนสุข และ ลาวัลย์ ศรัทธาพุทธ. อินโฟกราฟิกและการประยุกต์ในงานสุขภาพและเภสัชกรรม. Thai Bull Pharm Sci. 2016;11(2):98-120.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)