ผลของโปรแกรมคุณภาพชีวิตในช่องปากด้วยการเรียนรู้การสนทนากลุ่มเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • พลอยไพลิน เอนกแสน Student, bachelor degree of public health (dental public health), Sirindhorn college of public health, Khon Kaen Province
  • กนกกาญจน์ ราชชมภู Student, bachelor degree of public health (dental public health), Sirindhorn college of public health, Khon Kaen Province
  • วาระดิถี มังคละแสน Dentist, Senior professional level, Thakhuntho hospital, Kalasin. Province
  • พิชุดา วีรนิธาน Dentist, Professional level, Thakhuntho hospital, Kalasin. Province
  • สุริมล จำปี Community development, Professional level, Thakhuntho Municipality, Kalasin. Province

คำสำคัญ:

กระบวนการสนทนากลุ่ม, โปรแกรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมคุณภาพชีวิตในช่องปากด้วยการเรียนรู้การสนทนากลุ่มเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลอง ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม จำนวนทั้งสิ้น 64 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 32 คน ใช้ระยะเวลาศึกษาทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ด้วยกิจกรรมการวัดความรู้และตรวจสุขภาพช่องปากวัดคราบจุลินทรีย์ กิจกรรมสนทนากลุ่มเกี่ยวกับความรู้โรคในช่องปากผู้สูงอายุและการดูแลสุขภาพช่องปาก และสนทนากลุ่มแบบฐานการเรียนรู้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้ด้านทันตสุขภาพ แบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติการดูแลตนเองและการดูแลสุขภาพช่องปาก และพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก แบบประเมินสภาวะอนามัยช่องปาก ข้อมูลที่ได้นำไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบค่าที (t – test) โดยใช้สถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Paired t – test) และสถิติที่เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent t – test)

ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก พฤติกรรมการปฏิบัติการดูแลตนเองและการดูแลสุขภาพช่องปาก และพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพ มากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value <0.001 ค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก ลดลงมากกว่าก่อนการทดลอง และลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value <0.05 และมีค่าเฉลี่ยดัชนีคราบจุลินทรีย์ในช่องปาก ลดลงมากกว่าก่อนการทดลอง และลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value <0.001

            สรุป โปรแกรมคุณภาพชีวิตในช่องปากด้วยการเรียนรู้การสนทนากลุ่มเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพ ช่วยให้ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีการสะสมของคราบจุลินทรีย์ลดลง

References

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ปี 61 ไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ. [ออนไลน์] 2560.[อ้างเมื่อ21 มิถุนายน 2562] จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/37506-ปี%2061%20ไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ.html.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2560. [ออนไลน์] 2561.(อ้างเมื่อ 21 มิถุนายน 2562)จาก http://www.dop.go.th/th/know/2

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. หลักสูตรการอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญ สาขาการส่งเสริมสุขภาพ ด้านทันตสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2556.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ.2560. [ออนไลน์].2561. (อ้างเมื่อ21 มิถุนายน 2562)จากhttp://dental2.anamai.moph.go.th

ศศิกร นาคมณี. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ได้รับการใส่ฟันเทียมพระราชทาน โรงพยาบาลบางปะกง: วพปก2561 ม.ค.- มี.ค.;61(1):30-9.

วรรณศรี แก้วปินตา และสุณี ผลดีเยี่ยม.นิยามคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้านสุขภาพรวมสุขภาพช่องปากในทัศนะของผู้สูงอายุ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. ว.ทันต 2551;13(1):37-48.

อรวรรณ นามมนตรี. คุณภาพของเครื่องมือที่ใช้วัดคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากในประชากรวัยผู้ใหญ่ (OHIP-14) จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย. ขอนแก่น: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น;2557.

เศรษฐพล เจริญธัญรักษ์. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานในเขตอำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น] ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น;2556.

กนิษฐา ตานิโก และคณะ.ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมสุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ต้องขังในเรื่อนจำกลาง จังหวัดขอนแก่น[โครงงานวิจัยปริญญาสาธารณสุขศาตรบัณฑิต สาขาทันตสาธารณสุข] ขอนแก่น: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น;2557.

Paul S. Levy, Stanley Lemeshow.Sampling of populations: methods and applications3rd ed.New York: Wiley;1999.

Sho kry E et al. Impact of maternal BMI and gestational diabetes mellitus on maternal and cord blood metabolome: results from the PREOBE cohort study. Acta Diabetol 2019; 56(4):421-30.

จิตพิสุทธิ์ มั่นศิล และคณะ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพโดบประยุกต์ทฤษฎีปัญญาสังคมต่อการป้องกันโรคฟันผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสุขศึกษา 2562; 42(1):13-28.

พรธิชา สัตนาโค. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในเขตอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. ว.ทันตะ 2562; 30(1):131-50.

ฐิติพร ศิริบุรานนท์. ผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุที่ได้รับการใส่ฟันเทียม [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยคริสเตียน] บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน;2554.

ศุภศิลป์ ดีรักษา.ผลของโปรแกรมดูแลสุขภาพช่องปากด้วยการเรียนรู้เชิงกระบวนการสนทนากลุ่มต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองทางทันตสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตพื้นที่ให้บริการสุขศาลา เทศบาลตำบลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2557

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)