สภาวะช่องปากและพฤติกรรมทันตสุขภาพของเด็กนักเรียนอายุ 12 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ชนิกา โรจน์สกุลพานิช คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

สภาวะทันตสุขภาพ, สภา พฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม, พฤติกรรมการแปรงฟัน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาวะทันตสุขภาพและหาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล พฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม และพฤติกรรมการแปรงฟันกับสภาวะทันตสุขภาพเด็กนักเรียนอายุ 12 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560 ของสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 374 คนวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนาและสถิติถดถอยลอจิสติกพหุปัจจัย                                                                                        ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนอายุ 12 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 53.2 และศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา ร้อยละ 60.2 สภาวะทันตสุขภาพ พบว่า มีความชุกของโรคฟันผุร้อยละ 40.9 ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด (DMFT) เท่ากับ 1.1 ซี่ต่อคน (SD = 1.89) มีสภาวะเหงือกอักเสบ ร้อยละ 67.6 พฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ (ร้อยละ 57.0) โดยบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม เฉลี่ย 1-3 วันต่อสัปดาห์มากที่สุด อาหารและเครื่องดื่มที่รับประทานทุกวันมากที่สุด คือ น้ำอัดลม ขนมถุงกรุบกรอบ สำหรับพฤติกรรมการแปรงฟันส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 46.5) โดยแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันน้อยที่สุดร้อยละ 6.4 การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุคือการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน (p-value = 0.037) และระดับการศึกษา (p-value = 0.004) โดยเด็กที่ศึกษาอยู่ระดับชั้นประถมศึกษาจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ 1.94 เท่า ของเด็กนักเรียนที่ศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษา (95%CI=1.24-3.04) ดังนั้นควรดำเนินการส่งเสริมให้โรงเรียนประถมศึกษามีมาตรการงดขายน้ำอัดลมในโรงเรียน และส่งเสริมกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน โดยให้ปฏิบัติสม่ำเสมอทุกวัน

References

1. สัมภาษณ์ ชาติอลงกรณ์ , สุดาดวง กฤษฎาพงษ์ , สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวัฒนา.สุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตในเด็กปฐมวัย.วิทยาสารทันตแพทย์ศาสตร์ 2553;1:642-57.
2. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560 [อินเทอร์เนต]. กระทรวงสาธารณสุข. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 13 กันยายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://dental2.anamai.moph.go.th/ewt_dl_ link.php?nid= 2423& filename=Surveillance
3. Sterart BL, Sabbah WA, Owusu-Agyakwa GB. Dental pain experience and impact on children in tabuk, Saubia. Dental Journal. 2002; 14: 82-8.
4. WHO. Oral Health Surveys: basic methods. 4th ed. Geneva: World Health Organization; 2013.
5. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ: การปฏิรูปกรุงเทพมหานคร. [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงวันที่ 10 กันยายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/ feb2559-4.pdf
6. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. การสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ แห่งชาติ ครั้งที่ 1. [อินเตอร์เน็ต] มปท. [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก http://dental2.anamai.moph.go.th/ ewt_dl_link.php?nid=2425
7. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. คู่มือการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพและปัจจัยเสี่ยง. พิมพ์ครั้งที่ 1.ปทุมธานี: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัดนโมพลัส; 2558.
8. วีระศักดิ์ พุทธาศรี และเพ็ญแข ลาภยิ่ง. การใช้บริการสุขภาพช่องปากของคนไทย 5 ปี หลังการดําเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2552, 18(4): 289-503.
9. Zhu L, Petersen PE, Wang HY, Bian JY, Zhang BX.Oral health knowledge, attitudes and behaviour of children and adolescents in China.Int Dent J. 2003; 53(5): 289-98.
10. จันทร์เพ็ญ เกสรราช, นงลักษญ์ ดาวลอย, ปองชัย ศิริศรีจันทร์.พฤติกรรมทันตสุขภาพและสภาวะสุขภาพช่องปากของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสุรินทร์. วารสารทันตาภิบาล. 2560; 28(2): 28-44.
11. ณัฐนันท์ โกวิทวัฒนา และศิริพร ส่งศิริประดับบุญ. ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษา ในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายเขตหนองจอก จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์. 2561, 68(3): 279-287.
12. นันธินีย์ วังนันท์, นพวรรณ เปียซื่อ, สุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวของเด็กก่อนวัยเรียน. วารสารสภาการพยาบาล. 2560; 32(4): 55-66.
13. สุรางค์ โค้วตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา.โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ; 2558.
14. ปฐมา วิเศษเขตรการณ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะโรคฟันผุในนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอ ขามทะเลสอ จังหวักนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2561; 12(27): 49-61.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)