ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก 9 เดือน - 2 ปี 6 เดือน ของผู้ปกครองที่พาเด็กมารับบริการคลินิกเด็กดี โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • Pimnipa Kawin คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

โปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก, เด็ก 9 เดือน – 2 ปี 6 เดือน, ผู้ปกครอง, คลินิกเด็กดี, ปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์

บทคัดย่อ

โรคฟันผุเป็นปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบมากในประชากรโลก โดยเฉพาะในเด็กก่อนวัยเรียนซึ่งเป็นช่วงขวบปีแรกของการมีฟันน้ำนมขึ้นในช่องปาก และนับเป็นช่วงวัยที่มีฟันผุลุกลามอย่างรวดเร็ว ผู้ปกครองจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดูแล การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก 9 เดือน – 2 ปี 6 เดือน ของผู้ปกครองที่พาเด็กมารับบริการคลินิกเด็กดี โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย แบบทราบความน่าจะเป็น คัดเลือกตามเกณฑ์ ทั้งหมด 128 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง คือ ผู้ปกครอง 32 คน เด็ก 32 คน และกลุ่มควบคุม คือ ผู้ปกครอง 32 คน เด็ก 32 คน เครื่องมือคือโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม โดยการให้ความรู้ สร้างการรับรู้ด้านสุขภาพช่องปากเด็ก การสาธิตและฝึกปฏิบัติจริง กิจกรรมกลุ่ม และการติดตามเยี่ยมบ้าน 

ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลอง ผู้ปกครองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ การรับรู้ด้านสุขภาพช่องปากเด็ก ทัศนคติ พฤติกรรมที่เพิ่มขึ้น และปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันเด็ก หลังทดลองมีค่าเฉลี่ยลดลงจากก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

โดยสรุป ผลของโปรแกรมนี้ทำให้ผู้ปกครองมีความรู้ การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาดเด็กที่ดีขึ้น เด็กมีฟันสะอาด สุขภาพช่องปากดีขึ้น ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จคือ การเรียนรู้และการปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง การได้รับประสบการณ์จริงจากการแลกเปลี่ยน และการกระตุ้นเตือนจากเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข และการฝึกปฏิบัติจริง

References

1. อุดมพร รักเถาว์ และจารุวรรณ วงษ์เวช. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ปกครอง
ต่อการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2558;(1):52-64.
2. ปริญญา จิตอร่าม และกุลนาถ มากบุญ. (2557). พฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพ
ช่องปากเด็กอายุ 3 -5 ปี. วารสารทันตาภิบาล. 2557;(1):26-41.
3. ธาราทิพย์ ก้อนทอง. ผลของโปรแกรมประยุกต์การพัฒนาความสามารถในการดูแลช่องปาก
แบบใกล้ชิดต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของเด็กในปกครองของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะดอบ ตำบลตะดอบ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารทันตาภิบาล. 2557;(1):57-68.
4. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสุขภาพช่อง
ปาก ระดับประเทศ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ;2562.
5. สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเชียงราย. รายงานผลการสำรวจสุขภาพช่องปากเด็ก 0-2 ปี
จังหวัดเชียงราย. [ออนไลน์].[อ้างอิงเมื่อ สิงหาคม 2562]. จาก http://cro.moph.go.th /moph/index.php
6. สุนิภา ชินวุฒิ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก 1-3 ปี
ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาลเมืองบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วิทยาลัยพยาบาล
พระบรมราชชนนี ชลบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2558 เรื่อง การสร้างนักคิดสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21;2558.
7. อัสมาพร สุรินทร์ บุบผา รักษานาม นงนารถ สุขลิ้ม และธนรุต ตั้งคำ. ผลของโปรแกรม
ทันตสุขศึกษาสำหรับผู้ปกครอง ในการป้องกันฟันผุของเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลโคกยาง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2562;(1):189-200.

8. สุขนันท์สินี เพชรสุวรรณ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการแปรงฟันแบบฝึกปฏิบัติจริงสำหรับ
ผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียนช่วงอายุ 2-3 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;2559.
9. สุปรียา เครือสาร พรทิพย์ กีระพงษ์ และดร.นิตยา เพ็ญศิรินภา. การเปรียบเทียบพฤติกรรมการ
ดูแลสุขภาพช่องปากและสภาวะช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนที่มารับบริการคลินิกทันตกรรมเด็กดี อย่างต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่องโรงพยาบาลหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารทันตาภิบาล. 2560;(2) :45-57.
10. วิลาวัลย์ มากประดิษฐ์. ประสิทธิผลในการทำความสะอาดช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียนระหว่าง
การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการโดยทันตบุคลากรและครูผู้ดูแลเด็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการสุขภาพช่องปากประยุกต์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ;2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)