ความเจ็บป่วยทางร่างกายที่เป็นสาเหตุของอาการปวดฟัน
คำสำคัญ:
ปวดฟัน, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, การติดเชื้อในไซนัส, การติดเชื้อในหูบทคัดย่อ
การปวดฟันเป็นอาการหนึ่งที่คนไข้เป็นแล้วมักจะมาพบทันตแพทย์หรือทันตาภิบาล เพราะอาการดังกล่าวทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน เคี้ยวอาหารไม่ได้ นอนไม่หลับ ไม่สามารถทำงานหรือไปเรียนได้ตามปกติ หรือบางครั้งทำให้เกิดความเครียด หงุดหงิด หรืออารมณ์เสียได้ เพราะฉะนั้นคนไข้จึงมาพบทันตบุคลากรเพื่อให้ตรวจและกำจัดอาการปวดดังกล่าว อย่างไรก็ตามมีคนไข้หลายรายมีอาการปวดฟัน แต่เมื่อทันตแพทย์หรือทันตาภิบาลตรวจในช่องปากพบว่าฟันปกติ เหงือกปกติ อวัยวะรอบ ๆ ฟันก็ปกติ หรือแม้กระทั่งเอ็กซเรย์ฟันที่คนไข้สงสัยว่ามีอาการปวดก็ปกติ จริง ๆ แล้ว อาการปวดฟันดังกล่าวอาจมีสาเหตุมาจากโรคอื่น ๆ ทางร่างกายร่วมด้วย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ การติดเชื้อในไซนัส และการติดเชื้อในหู เป็นต้น โรคดังกล่าวข้างต้นมีการศึกษาพบแล้วว่า มีความสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดอาการปวดมายังฟันของมนุษย์ได้ เนื่องจากสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองหรือเกิดจากการอักเสบของอวัยวะใกล้เคียงบริเวณฟันและกระดูกขากรรไกรได้ เพราะฉะนั้นการตรวจและวินิจฉัยที่ถูกต้องจะช่วยให้คนไข้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
References
2. วัชรพล วิวรรศน์ เถาว์พันธ์. (2562). เอกสารประกอบการสอนเรื่องโรคฟันผุ (Dental Caries). มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ศูนย์การศึกษาขอนแก่น; (เอกสารอัดสำเนา).
3. Amy Freeman. (2018). When Sick Teeth Hurt: Three Illnesses That Cause Tooth Pain. Retrieved September 12, 2018, from http://www.colgate.com/en/us/oc/oral-health/basics/threats-to-dental-health/article/sick-teeth-hurt-illnesses-cause-tooth-pain-1215
4. American Heart Association. (2015). Angina (Chest Pain). Retrieved April 7, 2020, from http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HeartAttack/SymptomsDiagnosisofHeartAttack/Angina-Chest-Pain_UCM_450308_Article.jsp?_ga=2.63937199.1010123243.1508297185-1485293963.1508297185#.WebYsrpuImZ
5. Mayo Foundation for Medical Education and Research (MFMER). (2018). Angina. Retrieved September 12, 2018, from http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/angina/basics/symptoms/c
6. Foundation for Medical Education and Research (MFMER). (2018). Pain extending beyond your chest to your shoulder, arm, back, or even to your teeth and jaw. Retrieved September 12, 2018, from https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/angina/symptoms-causes/syc-20369373
7. สุภาภรณ์ การเสนารักษ์. (2560). Pharmacology: Coronary artery disease. ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
8. ปารยะ อาศนะเสน. (2553). ไซนัสอักเสบ…..รักษาได้ ตอนที่ 1. สาขาวิชาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้,
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา; คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.
9. ปารยะ อาศนะเสน. (2553). หูชั้นนอกอักเสบ...ปวดหูจัง ทำไงดี. สาขาวิชาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้,
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา; คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.
10. ปารยะ อาศนะเสน. (2554). หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน (Acute Otitis Media). สาขาวิชาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้, ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา; คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.
11. American Academy of Family Physicians (AAFP). (2018). Ear Problems. Retrieved September 12, 2018, from https://familydoctor.org/symptom/ear-problems/
12. นพดล อัจจิมาธีระ. (2560). การวิเคราะห์ผลประโยชน์และความเสี่ยงของยาเพื่อการดูแลสุขภาพเบื้องต้น (Benefit Risk evaluation of Self-care medicine (OTC)). สมาคมเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์ (ประเทศไทย).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล