ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา วัฒนเสน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

โรงเรียนผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก, สภาวะสุขภาพช่องปาก, พฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปาก

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 115 คน เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบตรวจสุขภาพช่องปาก และแบบสอบถามได้แก่ ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปาก  ปัจจัยสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก (OHIP14)  มีค่าความเชื่อมั่น KR 20 ของแบบวัดความรู้ เท่ากับ 0.7  และ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบวัดเจคติ การปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปาก ปัจจัยสนับสนุนทางสังคม และOHIP14 อยู่ระหว่าง 0.7 ถึง 0.9  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์ แบบสเปียร์แมน ไควสแคว์ และ ฟิชเชอร์เอ็กแซกเทสต์

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างประเมินสุขภาพช่องปากของตนเองอยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 54.8 และคิดว่าปัญหาเกี่ยวกับช่องปากไม่กระทบกระเทือนในการทำกิจวัตรประจำวัน ร้อยละ 40.0
ส่วนความสัมพันธ์ของตัวแปร พบว่า เจตคติและการปฏิบัติมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับการได้รับผลกระทบของสุขภาพช่องปากต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = -0.233, p-value = 0.012 และ rs = -0.196, p-value = 0.036) จำนวนฟันแท้และจำนวนคู่สบฟันหลังมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับการได้รับผลกระทบของสุขภาพช่องปากต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = -0.373, p-value <0.001 และ rs = -0.473, p-value <0.001) ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการได้รับผลกระทบของสุขภาพช่องปากต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = 0.348, p-value <0.001)  การมีร่องลึกปริทันต์มีความสัมพันธ์กับผลกระทบของสุขภาพช่องปากต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value =0.008)  การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะ  ควรปรับหลักสูตรการการเรียนการสอนในโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยเน้นให้ผู้สูงอายุตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปาก ส่งเสริมทักษะการดูแลสุขภาพช่องปาก และให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากหลายช่องทาง  รวมทั้งจัดให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการทางทันตกรรมให้มากขึ้น

References

1.สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553. [อ้างเมื่อ 2 สิงหาคม 2562] จาก http://popcensus.nso.go.th/file/popcensus-10-01-56-T.pdf
2.จุฑารัตน์ แสงทอง. สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์): ภาวะสูงวัย อย่างมีคุณภาพ. วารสารรูสมิแล 2560; 38(1): 6-28.
3.รศรินทร์ เกรย์ , อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์, เฉลิมพล แจ่มจันทร์ และเรวดี สุวรรณนพเก้า. มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ : มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคม และสุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 1). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล;2556.
4.กรมกิจการผู้สูงอายุ. คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ;2559.
5.สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ)จํากัด;2561.
6.มาโนช ตันเจริญ และคณะ. การพัฒนาระบบบริการเพื่อรองรับสังคมสูงอายุ กรณีศึกษาเทศบาลเมืองนางรอง. [ประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารงานพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน]. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า; 2561.
7.สุดาดวง กฤษฎาพงษ์. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2557.
8.Tsakos G, Marcenes W, Sheiham A. (2004). The relationship between clinical dental status and oral impacts in an elderly population. Oral Health Prev Dent 2004;2(3):211-20.
9.Cohen-Carneiro, F.,, Santos, R., & Rebelo, M. Quality of life related to oral health: Contribution from social factors. Ciencia & saude coletiva, 2001; 16 Suppl 1, 1007-1015
10.McGrath C1, Bedi R. Can dental attendance improve quality of life? Br Dent J 2001;190(5):262-265.
11.เศรษฐพล เจริญธัญรักษ์, จิราพร เขียวอยู่ และ วิลาวัลย์ วีระอาชากุล. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวาน: กรณีศึกษาในเขต อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู. ศรีนครินทร์เวชสาร 2557; 29 (4):339-344.
12.Hung Sa Lee & Chunmi Kim. Effects of Oral Health Impact Profile (OHIP) on Depression and Quality of Life among Community-dwelling. Korean Elderly Persons. J Korean Acad Community Health Nurs 2012; 23(3);338-346.
13.Fernandes MJ, Ruta DA, Ogden GR, Pitts NB, Ogston SA. Assessing oral health-related quality of life in general dental practice in Scotland: validation of the OHIP-14. Community Dent Oral Epidemiol 2006; 34:53-62.
14.Sanders A E, Spencer A J. Childhood circumstances, psychosocial factors and the social impact of adult oral health. Community Dent Oral Epidemiol 2005 ;33(5): 370–377.
15.ณภัทรพงษ์ หงษีทอง ศิริพร คำสะอาด รัชฎา น้อยสมบัติ และรัชนีกร สาวิสิทธิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการสูญเสียฟันตามดัชนีของอิชเนอร์กับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ. ว.ทันต.ขอนแก่น 2561;21(1):10-20.
16.อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2552.
17.Nammontri O. Validation of the Thai Version of the 14- Item Oral Health Impact Profile (Thai OHIP-14) amongst the General Thai Adult Population in a Community Setting. J Health Res 2017; 3(6):481-486
18.El Osta N, Tubert-Jeannin S, Hennequin M, Bou Abboud Naaman N, El Osta L, and Geahchan N. Comparison of the OHIP-14 and GOHAI as measures of oral health among elderly in Lebanon. Health Qual Life Outcomes 2012;10(131):1-10.
19.Ferguson, G. A. Statistical Analysis in Psychology and Education. 5th ed. Tokyo: McGraw–Hill; 1981.
20.ดวงพร ศิริเทพมนตรี. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุหลังใส่ฟันเทียมพระราชทาน.
วชิรเวชสาร 2551;52(1):39-47.
21.สุเทียน แก้วมะคำ และอารีย์ แก้วมะคำ. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุติดบ้านในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร 2561;10(1):37-47.
22.Braimoh O., Alade G. Oral health-related quality of life and associated factors of elderly population in Port Harcourt, Nigeria Saudi Journal of Oral Sciences 2019; 6(1):18-24.
23.สุพัตรา วัฒนเสน. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ความเครียด แรงสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ บ้านดอนยาง ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น;2559.
24.วินัย ไตรนาทถวัลย์ วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ และดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความแตกฉานด้านผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2562;13(2):41-51.
25.Walter MH , Woronuk JI, Tan HK, Lenz U, Koch R, Boening KW, Pinchbeck YJ. Oral health related quality of life and its association with sociodemographic and clinical findings in 3 northern outreach clinics. J Can Dent Assoc 2007; 73(2):153.
26.Ikebe K, Watkins CA, Ettinger RL, Sajima H, and Nokubi T. Application of short-form oral health impact profile on elderly Japanese. Gerodontology 2004;21(3):167-176.
27.กิตติคุณ บัวบาน. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพช่องปากกับคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก. J Gerontol Geriatr Med. 2017; 16:45-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)