ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความสามารถตนเองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • รุ่งเพชร บุญทศ

คำสำคัญ:

ความสามารถตนเอง, สุขภาพช่องปาก, อาสาสมัครสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้   เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง    มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความสามารถตนเองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ประชากรในการศึกษาจำนวน 88 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และผ่านการตรวจสอบคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้  วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

            ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 84.09 มีอายุ 55-69 ปี ร้อยละ 39.77 ระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 50 ระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 11-20 ปี ร้อยละ 42.05 ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก อยู่ในระดับสูง ความสามารถตนเอง อยู่ในระดับดี  ความสามารถตนเองด้านการรับรู้ความสามารถตนเองต่อการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับดี   ความสามารถตนเองด้านความคาดหวังในผลลัพธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับดีมาก  และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากโดยรวมอยู่ในระดับดี   ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้แก่  ความสามารถตนเองด้านการรับรู้ความสามารถตนเองต่อการดูแลสุขภาพปากและความสามารถตนเองด้านความคาดหวังในผลลัพธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  แต่ปัจจัยส่วนบุคคล  ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  และความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก   ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก   ดังนั้น   ผู้มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  ควรใช้ผลการศึกษานี้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

References

1. สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. Blueprint for change. [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2562]. จาก: http://dental2.anamai. moph.go.th/ewtadmin/ewt/dental/ewt_dl_link.php?nid=1860&filename=st
2. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ จำกัด; 2561.
3. สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารเกณฑ์การคัดเลือกอสม.ดีเด่น สาขาทันตสุขภาพ. [อินเทอร์เน็ต]. 2560. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2562]. จาก : http://dental2.anamai.moph.go.th/download/article/article_20170920162519.pdf
4. สุรีย์พันธ์ วรพงศธร. การวิจัยทางสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง;2558.
5. บุษยมาส สลางสิงห์. ความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. [วิทยานิพนธ์].
ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง; 2561.
6. อุบลรัตน์ บุญทา. ปัจจัยที่สนับสนุนพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคในช่องปากของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา โซนพัฒนาสาธารณสุข 4 จังหวัดอุบลราชธานี. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2546.
7. สุมาพร สุจำนงค์, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, นิรัตน์ อิมามี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเอง ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตลาดขวัญ จังหวัดนนทบุรี. วิทยาลัยพยาบาลราชชนนี กรุงเทพ. 2556;29(2):20-30.
8. ไฉไล เที่ยงกมล, กานดามณี พานแสง, ส่งศรี รัตนมาลาวงศ์, อารญา โถวรุ่งเรือง. พฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2558;7(2):1-15. 9. วัชฎา เพ็ญศรีสิริกุล. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคคลวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555. 10. สิยาภา พนังแก้ว วัชรสินธุ์, เยาวภา ติอัชสุวรรณ, สุรเดช ประดิษฐบาทุกา. ปัจจัยระดับบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพช่องปากของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2556.
11. มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์. ศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจบริโภคอาหารของประชาชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. [วิทยานิพนธ์]. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี; 2559. 12. ศิริรัตน์ รอดแสวง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตตำบลทุ่งทอง อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์. วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ. 2559; 12: 786-97.
13. ดวงใจ ชาวไทย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจในจังหวัดตรัง. [วิทยานิพนธ์]. ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง; 2561. 14. กนกนุช เนตรงามทวี. ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล สถานะสุขภาพ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพ ที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 2559; 23(2): 23-37.
15. อธิตยา ชุมศรี, วันเพ็ญ สมหอม. สภาวะโรคฟันผุ ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนด้านทันตสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารทันตาภิบาล. 2562; 30(1): 55-68.
16. อุฬาริกา โยสิทธิ์. พฤติกรรมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนโดยผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)