ความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข ของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร

ผู้แต่ง

  • เพียงดาว คำนึงสิทธิ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

ความต้องการศึกษาต่อ, หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข, เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาทันตสาธารณสุขของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานอยู่ในกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 270 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และผ่านการตรวจสอบคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ โดยใช้ Chi-square
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 92.2 ส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี ร้อยละ 30 หน่วยงานสังกัดอยู่ที่โรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 44.1 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 73 รองลงมาจบหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข) ร้อยละ 20 และ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 38.1 ระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ โดยรวมและปัจจัยด้านสถานศึกษา ค่าใช้จ่ายในการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม และด้านการประกอบอาชีพ อยู่ในระดับมาก สำหรับปัจจัยด้านหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด มีความต้องการศึกษาต่อเนื่องในภาคพิเศษ (เสาร์ – อาทิตย์) เพื่อเพิ่มความก้าวหน้าในอาชีพการงาน สำหรับการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านภาพลักษณ์สถานศึกษา หลักสูตร ค่าใช้จ่ายในการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม และการประกอบอาชีพกับความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข ไม่มีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นในการสร้างหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข ควรคำนึงถึง ปัจจัยด้านภาพลักษณ์สถานศึกษา หลักสูตร ค่าใช้จ่ายในการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม

References

1.สมศรี เพชรโชติ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. Dusit Thani College Journal. 2560;1(3): 168-184
2.กาญจนา เงารังสี. การศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน. Journal of Association of Researchers. 2559;21(12): 13-17
3.ศุภชัย ยาณะเรือง, อนุวัฒน์ วัฒนพิชญากูล, ภคิน ไชยช่วย. ปัญหาความก้าวหน้าและการประกอบวิชาชีพทันตาภิบาล. วารสารทันตาภิบาล. 2561;29(1):50-56
4. ฉัตรชัย อินทสังข์. และคณะ. ความต้องการศึกษาต่อและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ของนักศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน; 2552
5. ธาวุฒิ ปลื้มสำราญ. ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2552.
6. จิรชน ตั้งเจริญสมุทร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นของพนักงานโรงพยาบาลเมืองสมุทร จังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2546.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)