นักศึกษาทันตสาธารณสุขกับบทบาทในการควบคุมการบริโภคยาสูบป้องกันนักสูบหน้าใหม่

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศิริ ทานให้

คำสำคัญ:

การควบคุมการบริโภคยาสูบ, การป้องกันนักสูบหน้าใหม่, นักศึกษาทันตสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ เรื่อง บุหรี่ : สถานการณ์ พิษภัยของบุหรี่ที่มีผลต่อสุขภาพและการเลิกบุหรี่ และสามารถสร้างสื่อรณรงค์ ให้ความรู้ โดยใช้ป้ายโนโน่กระต่ายขาเดียวยืนกรานปฏิเสธบุหรี่ เป็นสื่อในการจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เรื่อง พิษภัยของบุหรี่เป็นการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ให้แก่นักเรียนของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา

                ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องบุหรี่ : สถานการณ์ พิษภัยของบุหรี่ที่มีผลเสีย
ต่อสุขภาพและการเลิกบุหรี่ ในระดับมาก และจัดทำสื่อรณรงค์สำหรับเผยแพร่ ให้ความรู้ โดยใช้ โนโน่กระต่ายขาเดียว พร้อมข้อความเตือนสติ จำนวน 6 แบบ นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องพิษภัยของบุหรี่ที่มีต่อสุขภาพ และการเลิกสูบบุหรี่ของนักสูบหน้าใหม่ มีค่าคะแนนเฉลี่ยของความรู้หลังการเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ เพิ่มขึ้น คิดเป็น ร้อยละ 100 นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนได้มีส่วนร่วมในการสะท้อนคิดการเรียนรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรม เช่น ความประทับใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้  การนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเองและผู้อื่น การศึกษานี้ทำให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่าทันตบุคลากร ควรบูรณาการงานส่งเสริม
ทันตสุขภาพควบคู่กับการเสริมสร้างพฤติกรรมความตั้งใจไม่สูบบุหรี่และการเลิกบุหรี่ในกลุ่มผู้รับบริการที่อยู่ในวัยเรียนซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานทันตกรรมป้องกันมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

References

เอกสารอ้างอิง
1.ปิยะดา ประเสริฐสม.ป้องกันนักสูบหน้าใหม่ ชวนเด็กประถมและมัธยมศึกษา “ยืนยัน มั่นใจ ไม่สูบ”.
กรมอนามัย : ประชาสัมพันธ์ วันที่ 21 ก.พ. 2561 วันที่ 29 พฤษภาคม 2554
2.Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational behavior and human decision processes, 50(2), 179-211.
3.บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น
4.Ojima M, Hanioka T, Shimada K, Haresaku S, Yamamoto M and Tanaka K. The role of tobacco use on dental care and oral disease severity within community dental clinics in Japan. Tobacco Induced Diseases 2013; 11(13): 1-8.
5.วัชรินทร์ อินกลอง และหทัยชนก นาเจิมพลอย. "ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของการติดบุหรี่ความ ตั้งใจเลิกบุหรี่ และ พฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปากที่มีผลต่อภาวะสุขภาพช่องปากของผู้สูบบุหรี่ ตำบลกลาง ใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี." Udonthani Hospital Medical Journal 27.1 (2019): 21-29.
6.Khasabai, Suriya, et al. "Effect of School Based Health Education Activities for New Smoker’s Protection." Journal of Health Education 38.3 (2015): 54-64.
7.Theeralux, Phuriphat, et al. "Educational Method and Preventing New-Young Smoker." Journal of Health Education 37.3 (2014): 102-109.
8.ศรีศิริ ศิริวนา รังสรรค์, และ พรเทพ ศิริวนา รังสรรค์. "แนวทาง ใน การ ควบคุม ผลิตภัณฑ์ ยาสูบ และ คุ้มครอง สุขภาพ ผู้ ไม่ สูบ บุหรี่ กรณี ศึกษา: พื้นที่ กรุงเทพมหานคร 2560." Journal of Preventive Medicine Association of Thailand 8.2 (2018): 173-181.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Articles)